ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ TMB Group 3 Blog

วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สรุปข่าวเด่นประจำสัปดาห์

10 ธันวาคม - 16 ธันวาคม 2555

ออกโรงเตือนนักช็อปมือเติบรูดปื้ดช่วงปีใหม่เสี่ยงหนี้ท่วมหัว



        ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ออกโรงเตือนผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิตในช่วงเทศกาลปลายปี เพราะตัวเลขยอดบัตรเครดิตอาจพุ่งกว่า 30% หรือ 3.5 หมื่นล้านบาท แนะผู้บริโภคควรรูดอย่างมีสติ ควบคุมการใช้จ่าย และเลี่ยง "5 พฤติกรรมเสี่ยง" สู่ความเป็นหนี้ คือ    
      1. ใช้บัตรเครดิตแทนเงินสดเพียงเพราะความสะดวก
      2. รูดบัตรเกินวงเงิน
      3. ถูกแรงดึงดูดจากบัตรเครดิตโน้มน้าวใจ เช่น มีของแถมมาล่อใจจนต้องใช้จ่าย

วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

TMB ปล่อยสินเชื่อ 2 พันลบ.ให้วอลโว่ กรุ๊ป ขยายโรงงานเพิ่มกำลังผลิต


        
           นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย (TMB) เปิดเผยว่า ธนาคารได้สนับสนุนสินเชื่อวงเงิน 2 พันล้านบาท สำหรับการลงทุนของ วอลโว่ กรุ๊ป ประเทศไทย ในแผนการขยายโรงงานเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต และศูนย์บริการ เพื่อเพิ่มการขายและเครือข่ายบริการ ให้กับลูกค้าของวอลโว่ทั่วประเทศ

          โดยธนาคารเล็งเห็นถึงศักยภาพในการเติบโตของธุรกิจในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้นในระบบเศรษฐกิจของไทย ซึ่งคิดเป็น 11% ของ GDP ของครึ่งปีแรก นอกจากนี้ ภายหลังจากวิกฤตน้ำท่วมเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ได้กลับมาดำเนินการผลิตได้อีกครั้ง และธนาคารได้สนับสนุนทางการเงินในด้านต่างๆ ให้กับผู้ประกอบการเหล่านี้ โดยในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ที่ผ่านมา ได้หนุนคู่ค้าผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์หลายราย และยังได้ขยายเครือข่ายธนาคารด้วยการทำบันทึกข้อตกลงกับธนาคารในประเทศญี่ปุ่นที่ส่งเสริมลูกค้าเอสเอ็มอีทั้งชาวไทยและญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมยานยนต์อีกด้วย ซึ่งนอกจากการสนับสนุนทางการเงินและสร้างเครือข่ายพันธมิตรที่แข็งแกร่งให้กับลูกค้าของธนาคารแล้ว ที ยังมีหน่วยงานสำหรับดูแลธุรกิจต่างประเทศแบบครบวงจร (International Desk) คอยให้คำปรึกษาในทุกความต้องการของธุรกิจต่างประเทศ " เชื่อว่าการสนับสนุนทางการเงินจำนวน 2 พันล้านบาท เพื่อการขยายโรงงานของ บริษัท ไทย-สวีดิช แอสเซมบลีย์ จำกัด  และ TMBP (Thai Manufacturing Body and Paint) ในครั้งนี้จะเป็นส่วนช่วยเสริมกำลังการผลิตของบริษัท นอกจากนั้นแล้ว วอลโว่ กรุ๊ป ประเทศไทย ยังมีแผนขยายศูนย์บริการทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มการขายและเครือข่ายบริการ ให้สามารถดูแลลูกค้าของวอลโว่ได้อย่างทั่วถึง" นายบุญทักษ์ กล่าว

         ด้านนาย ฌาคส์ มิเชล ประธานกรรมการ บริษัท วอลโว่ กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าวว่า วอลโว่ กรุ๊ป ยังคงมีความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยแผนการลงทุนของ วอลโว่ กรุ๊ป ก็พร้อมที่จะให้ประเทศไทยเป็นฮับการผลิตรถบรรทุกและรถบัสในภูมิภาคอาเซียน

อ้างอิง : http://www.ryt9.com/s/iq05/1548442

สรุป : นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย (TMB) เปิดเผยว่า ธนาคารได้สนับสนุนสินเชื่อวงเงิน 2 พันล้านบาท สำหรับการลงทุนของ วอลโว่ กรุ๊ป ประเทศไทย ในแผนการขยายโรงงานเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต และศูนย์บริการ เพื่อเพิ่มการขายและเครือข่ายบริการ ให้กับลูกค้าของวอลโว่ทั่วประเทศ

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ออกโรงเตือนนักช็อปมือเติบรูดปื้ดช่วงปีใหม่เสี่ยงหนี้ท่วมหัว


          ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ออกโรงเตือนผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิตในช่วงเทศกาลปลายปี เพราะตัวเลขยอดบัตรเครดิตอาจพุ่งกว่า 30% หรือ 3.5 หมื่นล้านบาท แนะผู้บริโภคควรรูดอย่างมีสติ ควบคุมการใช้จ่าย และเลี่ยง "5 พฤติกรรมเสี่ยง" สู่ความเป็นหนี้
ในช่วงเทศกาลใหญ่ปลายปีซึ่งได้แก่คริสต์มาสและปีใหม่ เป็นช่วงที่ประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอยสูงมากกว่าปกติ รวมทั้งบรรดาห้างสรรพสินค้าต่างๆ ก็มีการจัดโปรโมชั่นมากมายเพื่อดึงดูดลูกค้าเข้าไปช็อปปิ้งกันอย่างคึกคัก และแน่นอนว่าบัตรเครดิตจะถูกนำออกมาใช้มากที่สุดในช่วงนี้เช่นกัน เพราะนอกจากจะได้รับความสะดวกแล้ว ยังเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการได้ง่ายขึ้น

          จากการวิเคราะห์ พบว่าประชาชนอาจใช้จ่ายต่อบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นกว่า 30% หรือจากประมาณ 6,100 บาทต่อบัตรต่อเดือน ในช่วงเวลาทั่วไปเป็น 8,100 บาท ในเดือนธันวาคมปีนี้ และคาดว่าจะทำให้มีเงินสะพัดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนนี้ถึง 3.5 หมื่นล้านบาท
แม้ว่าเงินพลาสติก หรือ บัตรเครคิต อาจดีกว่าหากเทียบกับเงินสด เพราะทำให้ได้สินค้าและบริการมาก่อน แต่จ่ายเงินทีหลัง แถมมีสิทธิประโยชน์ต่างๆ พ่วงมากมาย เช่น เปอร์เซ็นต์ส่วนลด หรือสะสมแต้มแลกของรางวัล แต่ผู้ถือบัตรพึงระวังต้นทุนที่ตามมาจากความสะดวกนี้ด้วย เพราะเป็นการใช้เงินล่วงหน้าที่หยิบยืมมาจากผู้ออกบัตร ซึ่งต้องจ่ายคืนด้วยเงินในอนาคตของตนเอง
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี แนะให้พิจารณาก่อนรูด เริ่มจากดูก่อนว่ามีบัตรเครดิตกี่ใบ งวดชำระวันไหน ดอกเบี้ยเท่าไหร่ และมีความสามารถในการชำระหนี้เท่าไร ถ้าใช้ไปแล้วเป็นการแบกหนี้อยู่หรือไม่ และหลีกเลี่ยง "5 พฤติกรรมเสี่ยง" คือ 
         1.ใช้บัตรเครดิตแทนเงินสดเพียงเพราะความสะดวก เพราะไม่เห็นเงินสดไหลออกจากกระเป๋า จึงควบคุมการใช้จ่ายได้ยาก ถ้าถือบัตร 3 ใบ นั่นหมายถึงว่าอาจจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 24,300 บาท เกิดขึ้นในเดือนธันวาคม 
         2.รูดบัตรเกินวงเงิน เพราะจะทำให้เสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าอัตราปกติ และเพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมทั้งสอง อาจต้องทำบันทึกค่าใช้จ่ายพร้อมกับตรวจเช็คการใช้จ่ายอยู่เสมอ
         3.ถูกแรงดึงดูดจากบัตรเครดิตโน้มน้าวใจ เช่น มีของแถมมาล่อใจจนต้องใช้จ่าย จนทำให้ต้องแบกภาระหนี้สินมากเกินไป 4.ชำระเงินไม่ตรงเวลา เพราะนอกจากต้องเสียดอกเบี้ยที่สูงกว่าปกติแล้ว ยังทำให้มีประวัติการชำระเงินที่ไม่ดีบันทึกอยู่ในเครดิตบูโร (บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด) ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการขอสินเชื่อต่างๆ ในอนาคต เห็นได้จากหนี้เสียของลูกหนี้บัตรเครดิต (NPL) ของธนาคารพาณิชย์ที่เพิ่มจาก 2% ตอนต้นปีเป็น 2.5% ในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ดี ถ้าวันที่ต้องชำระเงินไม่สอดคล้องกับรายรับที่จะเข้ามา ควรปรึกษาผู้ออกบัตรเพื่อกำหนดวันชำระเงินให้เหมาะสม และ 5.การจ่ายเพียงแค่ยอดขั้นต่ำ จะก่อให้เกิดดอกเบี้ยเป็นเงาตามตัว และนำไปสู่ภาระหนี้อย่างไม่น่าเชื่อ เช่น ถ้ารูดบัตร 10,000 บาท และชำระขั้นต่ำเพียง 1,000 บาทต่อเดือน จะทำให้ต้องแบกภาระหนี้ไปถึง 11 เดือน จากการวิเคราะห์เพิ่มเติมพบว่า ยอดหนี้บัตรเครดิตของคนไทยในปัจจุบันมากกว่าครึ่งเป็นหนี้ค้างชำระสะสมจากเดือนก่อนหน้า ทำให้ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยมากถึง 20% ต่อปี

        ช่วงเทศกาลปีนี้จึงควรรูดบัตรอย่างมีสติ คิดก่อนใช้ เพื่อรักษาเครดิตของตัวเองไว้ เผื่อว่าในอนาคตมีความจำเป็นที่ต้องใช้เงินสินเชื่ออื่นๆ นอกเหนือจากบัตรเครดิต ไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืมเงินเพื่อที่อยู่อาศัย ลงทุนธุรกิจ หรือซื้อรถยนต์ จะได้ไม่เป็นปัญหาทีหลัง

         ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รายงานการให้บริการธุรกิจบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล ล่าสุดเดือน ต.ค.ของปี 55 พบว่ายังมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงต่อเนื่อง โดยสิ้นเดือน ต.ค.ยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตมีทั้งสิ้น 231,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26,100 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 12.76% จากระยะเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ปริมาณบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยสิ้นเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา มีปริมาณบัตรทั้งสิ้น 16.72 ล้านบัตร เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 1.48 ล้านบัตร หรือเพิ่มขึ้น 9.71%

         ทั้งนี้ ในเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา มีปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตรวมทั้งสิ้น 117,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 17,100 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 17.09% และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 23,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นสูงถึง 24.31% โดยหากพิจารณาตามประเภทการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตต่างๆ พบว่าปริมาณการใช้จ่ายในประเทศมีทั้งสิ้น 96,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 14,100 ล้านบาท หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้น 17.20% และหากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น 23,400 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นถึง 32.22%

         ขณะที่ปริมาณการใช้จ่ายในต่างประเทศมีทั้งสิ้น 7,620 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 1,610 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 26.74% และหากเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น 2,540 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าถึง 50.07% สำหรับการเบิกเงินสดล่วงหน้าของผู้ถือบัตรเครดิต ในเดือน ต.ค.มีทั้งสิ้น 13,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1,450 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 11.71% แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนกลับลดลงเกือบ 3,000 ล้านบาท หรือลดลงสัดส่วน 17.72%

          สำหรับการปล่อยสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลของธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับของ ธปท. ล่าสุดในเดือน ต.ค.ของปีนี้ พบว่าจำนวนบัญชี และยอดสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินเชื่อของนอนแบงก์ โดยปัจจุบันยอดคงค้างสินเชื่อทั้งระบบมีทั้งสิ้น 244,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 32,600 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น 15.44%

         ขณะเดียวกัน หากพิจารณาจำนวนบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคลในระบบสิ้นเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา มีทั้งสิ้น 9.64 ล้านบัญชี ส่วนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 110,000 บัญชี และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 800,000 บัญชี หรือเพิ่มขึ้นสัดส่วน 9.05% แสดงให้เห็นถึงการเร่งเพิ่มยอดสินเชื่อบุคคลของทั้งธนาคารพาณิชย์ และนอนแบงก์ โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของนอนแบงก์มากที่สุด 495,000 บัญชี ขณะที่ธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 328,000 บัญชี แต่สาขาธนาคารต่างชาติสวนกระแส โดยจำนวนบัญชีลดลง 23,000 บัญชี

          อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ ธปท.กำลังติดตามการก่อหนี้ และการกลายเป็นหนี้เสียของลูกหนี้รายย่อยที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และเริ่มเห็นยอดการค้างชำระหนี้ของลูกหนี้รายย่อย 1-2 เดือน เพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม แนวโน้มของการขยายตัวของสินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่ออุปโภคบริโภคบุคคลในช่วงปีหน้าจะยังคงเพิ่มขึ้นได้ต่อเนื่อง แต่คาดว่าจะเป็นระดับการขยายตัวที่ชะลอลงจากปีนี้

อ้างอิง : http://www.ryt9.com/s/bmnd/1547175

สรุปข่าว :   ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ออกโรงเตือนผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิตในช่วงเทศกาลปลายปี เพราะตัวเลขยอดบัตรเครดิตอาจพุ่งกว่า 30% หรือ 3.5 หมื่นล้านบาท แนะผู้บริโภคควรรูดอย่างมีสติ ควบคุมการใช้จ่าย และเลี่ยง "5 พฤติกรรมเสี่ยง" สู่ความเป็นหนี้ คือ 1. ใช้บัตรเครดิตแทนเงินสดเพียงเพราะความสะดวก
      2. รูดบัตรเกินวงเงิน
      3. ถูกแรงดึงดูดจากบัตรเครดิตโน้มน้าวใจ เช่น มีของแถมมาล่อใจจนต้องใช้จ่าย

วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สรุปข่าวเด่นประจำสัปดาห์

3 ธันวาคม - 9 ธันวาคม 2555

TMB ปล่อยกู้ SAM วงเงิน 480 ลบ.เป็นทุนหมุนเวียนทางธุรกิจ





          นายภูมิชาย ชูสกุลธนะชัย หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าบรรษัทธุรกิจ ธนาคารทหารไทย (TMB) กล่าวว่า ธนาคารได้ให้การสนับสนุนทางการเงิน เป็นวงเงินสินเชื่อเพื่อหมุนเวียนในธุรกิจจำนวน 480 ล้านบาท ให้แก่ บมจ.สามชัย สตีล อินทรัสทรี (SAM) เนื่องจากเล็งเห็นถึงศักยภาพการเติบโตของบริษัท ซึ่งผู้ผลิตและจำหน่ายท่อเหล็กรายใหญ่ของประเทศ และยังมีศักยภาพในการส่งออกไปสู่ตลาดต่างประเทศ

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

TMB ปล่อยกู้ SAM วงเงิน 480 ลบ.เป็นทุนหมุนเวียนทางธุรกิจ




         นายภูมิชาย ชูสกุลธนะชัย หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าบรรษัทธุรกิจ ธนาคารทหารไทย (TMB) กล่าวว่า ธนาคารได้ให้การสนับสนุนทางการเงิน เป็นวงเงินสินเชื่อเพื่อหมุนเวียนในธุรกิจจำนวน 480 ล้านบาท ให้แก่ บมจ.สามชัย สตีล อินทรัสทรี (SAM) เนื่องจากเล็งเห็นถึงศักยภาพการเติบโตของบริษัท ซึ่งผู้ผลิตและจำหน่ายท่อเหล็กรายใหญ่ของประเทศ และยังมีศักยภาพในการส่งออกไปสู่ตลาดต่างประเทศ


         นอกจากนั้นแล้วการที่บริษัทฯ มีการควบรวมกับบริษัท อินเตอร์สตีล อินดัสทรี จำกัด ส่งผลให้บริษัทฯ เป็นผู้ผลิตที่มีกำลังการผลิตสูงที่สุดในประเทศ โดยมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิมอยู่ที่ประมาณ 246,000 ตันต่อปี เป็น 376,000 ตันต่อปี (เพิ่มขึ้นอีก 130,000 ตันต่อปี) และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกระจายสินค้าของบริษัทฯ จากการมีโรงงานผลิตตั้งอยู่ทั้ง 2 ฝั่งของกรุงเทพมหานคร คือ สมุทรสาคร และสมุทรปราการ
สำหรับวงเงินสินเชื่อ Trade On Demand เพื่อนำไปลงทุนเพิ่มเติมในส่วนของวัตถุดิบทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ และใช้สำหรับการปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เชื่อว่าการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนในครั้งนี้จะสามารถเสริมสร้างศักยภาพทางการผลิตของบริษัทฯ และตอบสนองความต้องการได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งช่วยให้ลูกค้าสามารถจัดการทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และพัฒนาคุณภาพสินค้าและระบบการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

อ้างอิง : http://www.ryt9.com/s/iq10/1544811

สรุป : นายภูมิชาย ชูสกุลธนะชัย หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าบรรษัทธุรกิจ ธนาคารทหารไทย (TMB) กล่าวว่า ธนาคารได้ให้การสนับสนุนทางการเงิน เป็นวงเงินสินเชื่อเพื่อหมุนเวียนในธุรกิจจำนวน 480 ล้านบาท ให้แก่ บมจ.สามชัย สตีล อินทรัสทรี (SAM) เนื่องจากเล็งเห็นถึงศักยภาพการเติบโตของบริษัท ซึ่งผู้ผลิตและจำหน่ายท่อเหล็กรายใหญ่ของประเทศ และยังมีศักยภาพในการส่งออกไปสู่ตลาดต่างประเทศ

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สรุปข่าวเด่นประจำสัปดาห์

26 พฤศจิกายน - 2 ธันวาคม 2555




          จากตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL)ในระบบสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เปิดเผยออกมาเห็นได้ชัดว่าหนี้เสียที่มาจากหนี้เสียรายใหม่ในช่วงไตรมาสสองและสามปีนี้ เพิ่มขึ้น 1.0 และ  1.2  หมื่นล้าน ตามลำดับ จากปริมาณเพิ่มเฉลี่ยที่ 7,500 ล้านบาทต่อไตรมาสในช่วงปี 2553-54 เป็นการกลับไปแตะที่หลักหมื่นล้านอีกครั้งหลังช่วงวิกฤตซับไพร์มเป็นต้นมา

          การเพิ่มของหนี้เสียในจำนวนสูงเช่นนี้ เคยเกิดขึ้นแล้วในช่วงวิกฤติซับไพร์ม ซึ่งในครั้งนั้นเศรษฐกิจไทยถึงกับหดตัวถึงร้อยละ 2.3 ดังนั้น  การมีหนี้เสียเพิ่มขึ้นจึงเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ  แต่การเพิ่มขึ้นของหนี้เสียในปัจจุบัน เกิดขึ้นท่ามกลางเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 2.6 ในเก้าเดือนแรกของปี  จึงกล่าวได้ว่า การมีหนี้เสียมากขึ้นจากรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และหนี้เสียซ้ำซ้อนจากที่เคยปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้วที่เพิ่มขึ้นเช่นกันถึงร้อยละ 60 เป็นสิ่งที่ต้องพึงระวังอย่างยิ่งและควรติดตามดูอย่างใกล้ชิด

อ้างอิง : http://www.ryt9.com/s/iq05/1531064

วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

TMB เผยหนี้เสียในระบบแบงก์แนวโน้มเพิ่มหลังแข่งปล่อยสินเชื่อดุส่งสัญญาณเสี่ยง


          ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ระบุว่า จากตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL)ในระบบสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เปิดเผยออกมาเห็นได้ชัดว่าหนี้เสียที่มาจากหนี้เสียรายใหม่ในช่วงไตรมาสสองและสามปีนี้ เพิ่มขึ้น 1.0 และ  1.2  หมื่นล้าน ตามลำดับ จากปริมาณเพิ่มเฉลี่ยที่ 7,500 ล้านบาทต่อไตรมาสในช่วงปี 2553-54 เป็นการกลับไปแตะที่หลักหมื่นล้านอีกครั้งหลังช่วงวิกฤตซับไพร์มเป็นต้นมา


          ขณะที่หนี้เสียที่เพิ่มขึ้นจากหนี้ที่เคยเจรจาปรับโครงสร้างหนี้มาแล้วเพิ่มขึ้น 3.0 และ 3.2 พันล้านบาท ตามลำดับ  สูงกว่าค่าเฉลี่ย 2.3 พันล้านบาทต่อไตรมาส เช่นกัน จึงสรุปได้ว่าหนี้เสียทั้งรายใหม่และเก่า กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

          การเพิ่มของหนี้เสียในจำนวนสูงเช่นนี้ เคยเกิดขึ้นแล้วในช่วงวิกฤติซับไพร์ม ซึ่งในครั้งนั้นเศรษฐกิจไทยถึงกับหดตัวถึงร้อยละ 2.3 ดังนั้น  การมีหนี้เสียเพิ่มขึ้นจึงเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ  แต่การเพิ่มขึ้นของหนี้เสียในปัจจุบัน เกิดขึ้นท่ามกลางเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 2.6 ในเก้าเดือนแรกของปี  จึงกล่าวได้ว่า การมีหนี้เสียมากขึ้นจากรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และหนี้เสียซ้ำซ้อนจากที่เคยปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้วที่เพิ่มขึ้นเช่นกันถึงร้อยละ 60 เป็นสิ่งที่ต้องพึงระวังอย่างยิ่งและควรติดตามดูอย่างใกล้ชิด

         ถึงแม้การเพิ่มขึ้นของหนี้เสียสินเชื่อส่วนบุคคลจะมาจากทุกๆรายการ ไม่ว่าจะเป็น สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อเพื่อการบริโภคอื่นๆ และสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ โดยพบสัญญาณอันตรายในแง่การลดลงของคุณภาพสินเชื่อ ในสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และจักรยานยนต์มากที่สุด โดย สัญญาณดังกล่าววัดจากอัตราส่วนของ “สัดส่วนยอดสินเชื่อที่ปล่อยของสินเชื่อแต่ละประเภทกับสินเชื่อรวม" กับ “สัดส่วนยอด NPL แต่ละประเภทกับ NPL รวม"  (หรือ share ของสินเชื่อหารด้วย share ของ NPL นั่นเอง)  ถ้าหากอัตราส่วนดังกล่าวของสินเชื่อประเภทใดลดลง ก็หมายความสินเชื่อประเภทนั้น มีการเพิ่มของ NPL ที่เร่งตัวมากกว่าการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อ  ซึ่งอัตราส่วนดังกล่าวของสินเชื่อเช่าซื้อรถปรับตัวลงอย่างมีนัยสำคัญสองครั้ง คือ ช่วงที่เกิดวิกฤติซับไพรม์ที่ลดจากระดับ 4 เท่า เหลือเพียง 2.5 เท่า  และ ในช่วงสามไตรมาสปีนี้ ที่ลดลงมาต่ำกว่าระดับ 2 เท่า ขณะที่สินเชื่อบ้าน กับ สินเชื่อส่วนบุคคลอื่นๆ  มีการลดลงของอัตราส่วนดังกล่าวไม่มากนัก คือจากระดับประมาณ 1.5 เท่า มาเป็น 1 เท่า

         ถึงแม้สัดส่วนหนี้เสียต่อปริมาณสินเชื่อของสินเชื่ออุปโภคบริโภคจะยังไม่สูงมาก แต่การลดลงของคุณภาพสินเชื่อดังกล่าวกลับเป็นสัญญาณเสี่ยง ให้หลายๆฝ่ายเฝ้าจับตามองระดับหนี้เสียที่เพิ่มอย่างมีนัยสำคัญภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตได้ดี  แล้วถ้าหากเกิดเศรษฐกิจไทยเกิดสะดุดขึ้นมาจริงๆอีกครั้งหนึ่ง จะเกิดความเสียหายมหาศาลเพียงใด

อ้างอิงhttp://www.ryt9.com/s/iq03/1541288

สรุปจากตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL)ในระบบสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เปิดเผยออกมาเห็นได้ชัดว่าหนี้เสียที่มาจากหนี้เสียรายใหม่ในช่วงไตรมาสสองและสามปีนี้ เพิ่มขึ้น 1.0 และ  1.2  หมื่นล้าน ตามลำดับ จากปริมาณเพิ่มเฉลี่ยที่ 7,500 ล้านบาทต่อไตรมาสในช่วงปี 2553-54 เป็นการกลับไปแตะที่หลักหมื่นล้านอีกครั้งหลังช่วงวิกฤตซับไพร์มเป็นต้นมา

การเพิ่มของหนี้เสียในจำนวนสูงเช่นนี้ เคยเกิดขึ้นแล้วในช่วงวิกฤติซับไพร์ม ซึ่งในครั้งนั้นเศรษฐกิจไทยถึงกับหดตัวถึงร้อยละ 2.3 ดังนั้น  การมีหนี้เสียเพิ่มขึ้นจึงเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ  แต่การเพิ่มขึ้นของหนี้เสียในปัจจุบัน เกิดขึ้นท่ามกลางเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 2.6 ในเก้าเดือนแรกของปี  จึงกล่าวได้ว่า การมีหนี้เสียมากขึ้นจากรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และหนี้เสียซ้ำซ้อนจากที่เคยปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้วที่เพิ่มขึ้นเช่นกันถึงร้อยละ 60 เป็นสิ่งที่ต้องพึงระวังอย่างยิ่งและควรติดตามดูอย่างใกล้ชิด

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สรุปข่าวเด่นประจำสัปดาห์

12 พฤศจิกายน - 18 พฤศจิกายน 2555


TMB จัดวงเงินกู้ 420 ลบ.ให้ GLOBAL ใช้ซื้อวัสดุนำเข้าจากตปท.-ขยายสาขา




 ทางธนาคารทหารไทย ได้สนับสนุนการให้วงเงินกู้แก่ บริษัทโกลบอลเฮาส์ 420 ล้านบาท ทั้งนี้ทางธนาคารทหารไทย มองว่าการได้ร่วมลงทุนกับเครือปูนซีเมนต์ไทย SCC กับ Siam Global House จะเป็นการเพิ่มศักยภาพในการทำให้กิจการเจริญเติบโตไปได้อีก

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

TMB จัดวงเงินกู้ 420 ลบ.ให้ GLOBAL ใช้ซื้อวัสดุนำเข้าจากตปท.-ขยายสาขา


นายวิกรานต์ ปวโรจน์กิจ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจและลูกค้าบรรษัทธุรกิจ ธนาคารทหารไทย (TMB) สนับสนุนวงเงินหมุนเวียนทั้งหมดจำนวน 420 ล้านบาท ซึ่งรวมถึงวงเงิน Trade Finance ให้กับบมจ. สยามโกลบอลเฮ้าส์ (GLOBAL) เพื่อให้สามารถนำวงเงินนี้ไปหมุนเวียนในการซื้อวัสดุนำเข้าจากต่างประเทศ
นอกจากนี้ยังมองว่าการเข้าร่วมทุนของเครือปูนซีเมนต์ไทย (SCC) กับสยามโกลบอลเฮ้าส์ จะนำมาซึ่งการเพิ่มศักยภาพและสนับสนุนให้สามารถเติบโตไปได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย  และยอมรับในการทำตลาดแบบยุทธศาสตร์ป่าล้อมเมืองว่าส่งผลดีต่อการขยายตัวของบริษัทมาก

ด้านนายวิทูร สุริยวนากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร GLOBAL กล่าวว่า บริษัทเตรียมที่จะขยายสาขาต่อให้ครบ 20 แห่งภายในปีนี้จากเดิมที่มีอยู่ 16 แห่งในปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงมีความเป็นไปได้ที่จะเข้ามาตั้งสาขาในกรุงเทพฯด้วย
อนึ่ง เมื่อเร็วๆนี้ทางกลุ่มปูนซิเมนต์ไทยได้เข้ามาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจด้วยการถือหุ้นในบริษัทถึง 30%  ประกอบกับมีการเติบโตของยอดขายที่สูงขึ้นจากปีที่แล้วถึง 40% และ 27% จากไตรมาสที่ 1 ของปีนี้
การขยายสาขาทำให้บริษัทได้ประโยชน์จาก Economy of Scale และเพิ่มอำนาจในการต่อรองกับซัพพลายเออร์ด้วย โดยเน้นการลงทุนบนพื้นที่ของบริษัทเองจึงทำให้คุ้มกว่าในระยะยาว ซึ่งนอกจากพื้นที่ในต่างจังหวัดแล้ว บริษัทยังมีที่ในเมืองทองธานีอีก 140 ไร่ รวมมูลค่า 400 กว่าล้านบาท และยังสามารถขยายกิจการต่อไปได้อีกในอนาคต

อ้างอิง : http://www.ryt9.com/s/iq05/1531064

สรุปข่าว : ทางธนาคารทหารไทย ได้สนับสนุนการให้วงเงินกู้แก่ บริษัทโกลบอลเฮาส์ 420 ล้านบาท ทั้งนี้ทางธนาคารทหารไทย มองว่าการได้ร่วมลงทุนกับเครือปูนซีเมนต์ไทย SCC กับ Siam Global House จะเป็นการเพิ่มศักยภาพในการทำให้กิจการเจริญเติบโตไปได้อีก

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

TMB ให้สินเชื่อหมุนเวียน SGP 1.5 พันลบ.รองรับขยายธุรกิจใน-ตปท.


       
          นายปิติ  ตัณฑเกษม  ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ธนาคารทหารไทย(TMB)  เปิดเผยว่าธนาคารได้สนับสนุนทางการเงินครบวงจร โดยจัดวงเงินสินเชื่อ Combined Line มูลค่า 1,500 ล้านบาท แก่ บมจ.สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ (SGP) ซึ่งเป็นบริษัทค้าก๊าซปิโตรเลียมอันดับ 2 ในประเทศรองจากปตท.ให้นำไปใช้เพิ่มเงินทุนหมุนเวียนในการขยายธุรกิจทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ

          ด้านนายวรวิทย์  วีรบวรพงศ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร SGP  กล่าวว่า ในปี 55 คาดว่ารายได้เติบโตแบบก้าวกระโดด เติบโตตามเป้าหมายที่ 30% จากปีก่อนหรือประมาณ 50,000 ล้านบาท จากปัจจัยหนุน 2 ทาง คือจากการบริโภคในประเทศ   โดยเฉพาะในภาคครัวเรือนซึ่งทำให้แอลพีจีขยายตัวต่อเนื่อง 
และการเข้าไปลงทุนในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศจีน ด้วยการเข้าซื้อกิจการ Chevron Ocean Gas & Energy Ltd. และ BP Zhuhai (LPG) Limited ซึ่งเป็นคลังแก๊สขนาดใหญ่ในซัวเถา และจูไห่ รวมถึงมีกิจการ Supergas Company Limited ในเวียดนามและได้เข้าซื้อกิจการ Shell Gas (LPG) Singapore Pte. Ltd.ในสิงคโปร์ จึงทำให้ขณะนี้บริษัทมีคลังเก็บแอลพีจีที่รวมแล้วใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเซียตะวันออก
ทั้งนี้ ภายในปี 55 สัดส่วนรายได้จากการจำหน่ายแอลพีจีในประเทศกับต่างประเทศจะเปลี่ยนไป จากเดิมมีสัดส่วนในประเทศและต่างประเทศอยู่ที่ 50:50 ก็จะค่อยๆ เปลี่ยนไปเป็น 40:60   ซึ่งเป็นอัตราที่สามารถรองรับการเติบโตของภาคพลังงานในประชาคมอาเซียนต่อไปได้
          “หากรัฐบาลมีการลอยตัวราคาก๊าซของภาคครัวเรือนให้เท่ากับภาคอุตสาหกรรม ก็จะเป็นโอกาสให้สามารถนำเข้าแก๊สเพื่อเข้ามาทำตลาดในประเทศได้ โดยในปัจจุบันบริษัทฯ เองก็ได้มีการนำเข้าแก๊สจากกลุ่มประเทศตะวันออกกลางอยู่แล้ว  แต่ส่งตรงเข้าไปสู่ประเทศในอาเซียนและจีน  ยังไม่ได้นำเข้ามาในประเทศไทยเนื่องจากปัญหาทางด้านต้นทุน ซึ่งถ้าเป็นไปตามนี้ก็จะทำให้บริษัทมีกำไรเติบโตเกือบเท่าตัวเพราะสามารถขายในราคาที่ไม่ต้องถูกควบคุมได้  "นายวรวิทย์ กล่าว

อ้างอิง : http://www.ryt9.com/s/iq10/1526667

สรุปข่าว : ธนาคารได้สนับสนุนทางการเงินครบวงจร โดยจัดวงเงินสินเชื่อ Combined Line มูลค่า 1,500 ล้านบาท แก่ บมจ.สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ (SGP) ซึ่งเป็นบริษัทค้าก๊าซปิโตรเลียมอันดับ 2 ในประเทศรองจากปตท.ให้นำไปใช้เพิ่มเงินทุนหมุนเวียนในการขยายธุรกิจทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ ส่วนด้านนายวรวิทย์  วีรบวรพงศ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร SGP  กล่าวว่า ในปี 55 คาดว่ารายได้เติบโตแบบก้าวกระโดด เติบโตตามเป้าหมายที่ 30% จากปีก่อนหรือประมาณ 50,000 ล้านบาท จากปัจจัยหนุน 2 ทาง คือจากการบริโภคในประเทศ   โดยเฉพาะในภาคครัวเรือนซึ่งทำให้แอลพีจีขยายตัวต่อเนื่อง และการเข้าไปลงทุนในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศจีน ด้วยการเข้าซื้อกิจการ Chevron Ocean Gas & Energy Ltd. และ BP Zhuhai (LPG) Limited 

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

สรุปข่าวประจำสัปดาห์


ทีเอ็มบี กรุงไทย และบิ๊กซีฉลองความสำเร็จ
12 กันยายน 2555
ทีเอ็มบี ธนาคารกรุงไทย พร้อมด้วยบมจ.บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ร่วมฉลองความสำเร็จของโครงการรีไฟแนนซ์เงินกู้จำนวน 27,000 ล้านบาท ของบมจ.บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ที่ครบกำหนดชำระในเดือนกรกฎาคม 2555โดยในปีที่แล้ว ทีเอ็มบีและกรุงไทยได้เป็นผู้สนับสนุนทางการเงินในการเข้าซื้อกิจการของคาร์ฟูร์ จำนวน 38,500ล้าน ซึ่งเป็นดีลที่มีวงเงินสินเชื่อขนาดใหญ่ในรอบปี
ทั้งนี้ นาย ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบี (ซ้าย) และนาย วิภูธา ตระกูลฮุน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจขนาดใหญ่ ธนาคารกรุงไทย (ขวา) และนางสาว รำภา คำหอมรื่น รองประธานฝ่ายบัญชีและการเงิน (กลางขวา) และคุณประพันธ์ เอี่ยมรุ่งโรจน์ รองประธานผู้บริหาร ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและอสังหาริมทรัพย์ (กลางซ้าย) บมจ.บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ได้ร่วมฉลองความสำเร็จในการรีไฟแนนซ์ ณ โรงแรม โฟร์ซีซั่นส์ กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้


ทีเอ็มบี กรุงไทย และบิ๊กซีฉลองความสำเร็จ
12 กันยายน 2555
ทีเอ็มบี ธนาคารกรุงไทย พร้อมด้วยบมจ.บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ร่วมฉลองความสำเร็จของโครงการรีไฟแนนซ์เงินกู้จำนวน 27,000 ล้านบาท ของบมจ.บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ที่ครบกำหนดชำระในเดือนกรกฎาคม 2555 โดยในปีที่แล้ว ทีเอ็มบีและกรุงไทยได้เป็นผู้สนับสนุนทางการเงินในการเข้าซื้อกิจการของคาร์ฟูร์ จำนวน 38,500 ล้าน ซึ่งเป็นดีลที่มีวงเงินสินเชื่อขนาดใหญ่ในรอบปี
ทั้งนี้ นาย ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบี (ซ้าย) และนาย วิภูธา ตระกูลฮุน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจขนาดใหญ่ 2 ธนาคารกรุงไทย (ขวา) และนางสาว รำภา คำหอมรื่น รองประธานฝ่ายบัญชีและการเงิน (กลางขวา) และคุณประพันธ์ เอี่ยมรุ่งโรจน์ รองประธานผู้บริหาร ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและอสังหาริมทรัพย์ (กลางซ้าย) บมจ.บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ได้ร่วมฉลองความสำเร็จในการรีไฟแนนซ์ ณ โรงแรม โฟร์ซีซั่นส์ กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้


ผู้เสนอข่าว : นางสาวสุจิตรา เคหารย์  ID : 53112804111

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

แพนเค้ก เขมนิจ จับมือน้องร่วมช่อง พอร์ช ศรัณย์ วิ่งเพื่อสุขภาพที่ดีกว่า ไปกับ TMB




วิเคราะห์ข่าว : แพนเค้ก เขมนิจ จับมือน้องร่วมช่อง พอร์ช ศรัณย์ วิ่งเพื่อสุขภาพที่ดีกว่า ไปกับ TMB นมินิมาราธอนการกุศล “TMB ING ParkRun 2012” ที่จัดขึ้นโดย TMB ร่วมกับ ING Bank โดยรายได้จากการจัดงาน นำไปช่วยเหลือซื้อเครื่องช่วยหายใจให้แก่ “น้องเนิร์ธ” ผู้ป่วยเด็กโรคถูกสาป (Ondine’s Curese)

ผู้เสนอข่าว : นายวรพงษ์ เจริญสรรพพืช ID:53112804116

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

สรุปข่าวเด่นประจำสัปดาห์


3 กันยายน – 9 กันยายน 2555


ทีเอ็มบีผนึกพีทีทีพีเอ็ม เพิ่มศักยภาพเครือข่ายธุรกิจ


           ความร่วมมือระหว่างทีเอ็มบีกับบริษัท พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง (PTTPM) ครั้งนี้ เป็นความร่วมมือที่เรียกได้ว่ามากกว่าพันธมิตรทางการเงินหรือการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน โดยใน 2 ปีที่ผ่านมาทีเอ็มบีได้ให้การสนับสนุนด้านเงินทุน สภาพคล่องและระบบงานเครือข่ายพันธมิตรให้กับพีทีทีพีเอ็มและคู่ค้า ซึ่งธนาคารได้อนุมัติวงเงิน LG ล่วงหน้าไว้แล้วประมาณ 370 ล้าน วงเงินดังกล่าวเป็นการให้วงเงินเพิ่มขึ้นภายหลังจากที่ได้ให้การสนับสนุนวงเงิน OD for Buyer ให้กับผู้แทนจำหน่ายของ PTTPM ไปแล้วก่อนหน้านี้ ก็พบว่า ทีเอ็มบีมีโซลูชั่นทางการเงินที่สามารถสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจและเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่บริษัทอย่างมาก ดังนั้น จึงได้มีการปรึกษาหารือและพัฒนาเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสมให้กับเอเย่นต์ของเรา และจะยังคงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อความเจริญเติบโตและประสิทธิภาพของเครือข่ายธุรกิจที่ยั่งยืน


วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

ทีเอ็มบี เปิด ไฟ ฟ้า จันทน์ ศูนย์เรียนรู้ทักษะชีวิตแห่งใหม่ล่าสุด มุ่งสร้างพลังและจุดประกายเยาวชนเพื่อชุมชนอย่างยั่งยืน

    
 ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) มุ่งมั่นสร้างพลังและจุดประกายเยาวชนอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด เปิด ไฟ ฟ้า แห่งใหม่บนถนนจันทน์ เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้สำหรับเยาวชน อายุ 12-19 ปี ที่อาศัยอยู่ในชุมชนรายได้น้อยบริเวณถนนจันทน์ สีลม ยานนาวาและสาธุประดิษฐ์ ซึ่งครอบคลุมกว่าพันครัวเรือนใน 25 ชุมชน โดยมุ่งหวังให้เยาวชนได้เรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิตและค้นพบศักยภาพในตัวเองผ่านศิลปะแขนงต่างๆ อันเป็นพื้นฐานของการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ เพื่อพัฒนาความคิดและจิตใจของเยาวชน อันได้แก่ ศิลปะ ร้องเพลง เต้นรำ ดนตรี ศิลปะป้องกันตัว รวมถึงวิชาสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น (Fashion Design) ซี่งเป็นวิชาพิเศษสำหรับ ไฟ ฟ้า จันทน์ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับบริบททางสังคม และบริเวณชุมชนที่แวดล้อม เพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนในอนาคต นอกจากนี้ ยังมีอาสาสมัครทีเอ็มบี ศิลปินและผู้ที่มีความรู้ความชำนาญจากวงการต่างๆ ที่มาเป็นครูอาสาให้กับน้องๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพื่อจุดพลังสร้างสรรค์ให้เยาวชนได้นำความรู้ความสามารถออกมาใช้ในทางที่เหมาะสม และเป็นแรงบันดาลใจในการ Make THE Difference เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนต่อไป โดย ไฟ ฟ้า จันทน์ แห่งนี้ได้รับการออกแบบโดยมร. เคลลี่ วีทลี่ย์ สถาปนิกจิตอาสาจากบริษัท LUMP ที่อาสาเข้ามาช่วยออกแบบ ไฟ ฟ้า แห่งนี้ เพื่อการมีส่วนร่วมในการให้คืนสิ่งดีๆ ร่วมกับทีเอ็มบี

วิเคราะห์ข่าว : ธนาคารทหารไทย ล่าสุด เปิด ไฟ ฟ้า แห่งใหม่บนถนนจันทน์ เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้สำหรับเยาวชน อายุ 12-19 ปี ที่อาศัยอยู่ในชุมชนรายได้น้อยบริเวณถนนจันทน์ สีลม ยานนาวาและสาธุประดิษฐ์ ซึ่งครอบคลุมกว่าพันครัวเรือนใน 25 ชุมชน โดยมุ่งหวังให้เยาวชนได้เรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิตและค้นพบศักยภาพในตัวเองผ่านศิลปะแขนงต่างๆ อันเป็นพื้นฐานของการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ เพื่อพัฒนาความคิดและจิตใจของเยาวชน อันได้แก่ ศิลปะ ร้องเพลง เต้นรำ ดนตรี ศิลปะป้องกันตัว รวมถึงวิชาสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น (Fashion Design)

Credit : http://www.ryt9.com/s/prg/1474812

ผู้เสนอข่าว : นายธงไชย เขมาธร ID 53112804112

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

ทีเอ็มบีผนึกพีทีทีพีเอ็ม เพิ่มศักยภาพเครือข่ายธุรกิจ


           ทีเอ็มบีผนึกพีทีทีพีเอ็ม เพิ่มศักยภาพเครือข่ายธุรกิจ

            ทีเอ็มบี และบริษัท พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (PTTPM) ในกลุ่มปตท. จับมือเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับเอเย่นต์ของพีทีทีพีเอ็ม ต่อยอดธุรกิจด้วยผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ให้กับคู่ค้าเพื่อเพิ่มศักยภาพเครือข่ายธุรกิจทั้งระบบ เผยพร้อมสนับสนุนคู่ค้าด้วยนวัตกรรมทางการเงินที่มีคุณค่ามากขึ้นเพื่อสร้างเป็นคอมมูนิตี้ ที่แข็งแกร่งและมั่นคง หลังจาก 2 ปีที่ผ่านมาได้นำทีเอ็มบี ซัพพลายเชน โซลูชั่นส์ ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางการเงินและการบริหารจัดการธุรกิจเข้าสู่ระบบเครือข่ายพันธมิตรระหว่างบริษัทขนาดใหญ่กับคู่ค้า ซึ่งในวันนี้ ทีเอ็มบี และ พีทีทีพีเอ็ม ตอกย้ำความสัมพันธ์ด้วยการลงนามขยายความร่วมมือทางการเงิน เพื่อยกระดับศักยภาพเครือข่ายธุรกิจ โดย นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี และนายศุภโชค เลี่ยมแก้ว กรรมการผู้จัดการใหญ่ พีทีทีพีเอ็ม ที่ทีเอ็มบี สำนักงานใหญ่

            นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี กล่าวว่า ความร่วมมือกับบริษัท พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง (PTTPM) ครั้งนี้ เป็นความร่วมมือที่เรียกได้ว่ามากกว่าพันธมิตรทางการเงินหรือการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน โดยใน 2 ปีที่ผ่านมาทีเอ็มบีได้ให้การสนับสนุนด้านเงินทุน สภาพคล่องและระบบงานเครือข่ายพันธมิตรให้กับพีทีทีพีเอ็มและคู่ค้า เพื่อสนับสนุนและยกระดับมาตรฐานของการทำธุรกิจระหว่างบริษัทขนาดใหญ่กับคู่ค้าหรือเอเย่นต์ ด้วย ทีเอ็มบี ซัพพลายเชน โซลูชั่นส์ และในปีนี้ ธนาคารยังคงเดินหน้าต่อเนื่องในการมอบอำนาจทางการเงินให้กับลูกค้าธุรกิจ (Empowering Business Customers) ตามแนวคิด Make THE Difference ด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลายและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีมากยิ่งขึ้น เช่น บริการหนังสือค้ำประกันแบบไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันบนวงเงินเบิกเกินบัญชีเพื่อผู้ค้า (Clean Letter of Guarantee on OD for Buyer) และ บริการรับซื้อลูกหนี้การค้า (Factoring) ซึ่งธนาคารได้อนุมัติวงเงิน LG ล่วงหน้าไว้แล้วประมาณ 370 ล้าน วงเงินดังกล่าวเป็นการให้วงเงินเพิ่มขึ้นภายหลังจากที่ได้ให้การสนับสนุนวงเงิน OD for Buyer ให้กับผู้แทนจำหน่ายของ PTTPM ไปแล้วก่อนหน้านี้ (21 ราย คิดรวมเป็นมูลค่ากว่า 1,051 ล้านบาท) การให้ LG on OD for Buyer ในรูปแบบของ Supply Chain Financing กับคู่ค้า จึงนับว่าเป็นมิติใหม่ของธนาคารไทยกับการให้วงเงินในรูปแบบดังกล่าว กับเอเย่นต์ของ PTTPM เพื่อใช้ในการซื้อเม็ดพลาสติก

            นอกจากนี้ธนาคารยังให้บริการ ผลิตภัณฑ์บัญชีเงินฝากเพื่อการบริหารสภาพคล่อง (Liquidity Account) ซึ่งเป็นเงินฝากรูปแบบใหม่ โดยให้อัตราดอกเบี้ยพิเศษตามระดับชั้นของจำนวนเงินที่ฝากในแต่ละวันในอัตราตั้งแต่ 0.125 -1.00% ซึ่งสูงกว่าอัตราเงินฝากออมทรัพย์หรือฝากประจำทั่วไป

            นายบุญทักษ์กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า ทีเอ็มบีพร้อมพัฒนานวัตกรรมทางการเงินเพื่อเพิ่มคุณค่าให้แก่ลูกค้ามากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบโจทย์ให้กับกลุ่มลูกค้าบริษัทขนาดใหญ่และคู่ค้า เพราะเป็นเสมือนการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบธุรกิจที่มีประสิทธิภาพและส่งผลดีต่อเศรษฐกิจระดับประเทศในระยะยาว

            นายศุภโชค เลี่ยมแก้ว กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีทีโพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (PTTPM) กล่าวว่า ในปีหน้านี้ PTTPM มีปริมาณสินค้าให้ดำเนินการถึง 1.7 ล้านตัน และคาดว่าจะมีรายได้ไม่น้อยกว่า 70,000 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 2011 ที่มีรายได้อยู่ที่ระดับ 63,000 ล้านบาท และมุ่งไปสู่ยอดขายที่หนึ่งแสนล้านบาท ภายในปี 2015 ตามวิสัยทัศน์ของบริษัท ผมมีความเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า ทีเอ็มบี จะเป็นพันธมิตรทางการเงินที่สำคัญที่ตอบโจทย์นี้ได้อย่างลงตัว

            ผู้ประกอบการธุรกิจปิโตรเคมีในประเทศไทยยังคงต้องการการสนับสนุนจากธนาคารในรูปแบบต่าง ๆ อีกมากเพื่อตอบโจทย์ให้แก่ธุรกิจ ช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจยืนหยัดและเจริญเติบโตได้อย่างมั่นคง ซึ่งหลังจากที่บริษัทเข้ามาเป็นพันธมิตรกับทีเอ็มบีเมื่อ 2 ปีทีแล้ว ก็พบว่า ทีเอ็มบีมีโซลูชั่นทางการเงินที่สามารถสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจและเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่บริษัทอย่างมาก และเรามีความคิดเห็นตรงกันว่า เอเย่นต์คือเฟืองจักรที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมปิโตรเคมีอย่างมาก ดังนั้น จึงได้มีการปรึกษาหารือและพัฒนาเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสมให้กับเอเย่นต์ของเรา และจะยังคงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อความเจริญเติบโตและประสิทธิภาพของเครือข่ายธุรกิจที่ยั่งยืน


สรุปและวิเคราะห์ข่าว : ความร่วมมือระหว่างทีเอ็มบีกับบริษัท พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง (PTTPM) ครั้งนี้ เป็นความร่วมมือที่เรียกได้ว่ามากกว่าพันธมิตรทางการเงินหรือการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน โดยใน 2 ปีที่ผ่านมาทีเอ็มบีได้ให้การสนับสนุนด้านเงินทุน สภาพคล่องและระบบงานเครือข่ายพันธมิตรให้กับพีทีทีพีเอ็มและคู่ค้า ซึ่งธนาคารได้อนุมัติวงเงิน LG ล่วงหน้าไว้แล้วประมาณ 370 ล้าน วงเงินดังกล่าวเป็นการให้วงเงินเพิ่มขึ้นภายหลังจากที่ได้ให้การสนับสนุนวงเงิน OD for Buyer ให้กับผู้แทนจำหน่ายของ PTTPM ไปแล้วก่อนหน้านี้ ก็พบว่า ทีเอ็มบีมีโซลูชั่นทางการเงินที่สามารถสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจและเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่บริษัทอย่างมาก ดังนั้น จึงได้มีการปรึกษาหารือและพัฒนาเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสมให้กับเอเย่นต์ของเรา และจะยังคงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อความเจริญเติบโตและประสิทธิภาพของเครือข่ายธุรกิจที่ยั่งยืน

ผู้เสนอข่าว : นายสันติ พงษ์บริบูรณ์  ID : 53112804113

วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

สรุปข่าวเด่นประจำสัปดาห์


27 สิงหาคม – 2 กันยายน 2555


TMB คาด กนง.ตรึงดอกเบี้ยนโยบายจนถึงสิ้นปี มองอัตรา 3% สอดคล้องศก.ไทย

            TMB Analytics มองว่าอัตราดอกเบี้ยที่ 3% ยังคงเป็นอัตราที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจไทยในภาวการณ์ปัจจุบัน เพราะหากพิจารณาจากเป้าหมายของนโยบายการเงินเพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพด้านราคา จะเห็นว่าเงินเฟ้อพื้นฐานในไตรมาส 2/55 ได้แผ่วลงจาก 3 เดือนแรกของปีมาอยู่ที่ระดับ 1.9% ซึ่งใกล้กับจุดกึ่งกลางของกรอบเป้าหมายที่ กนง.ประกาศไว้ที่ 0.5-3.0% ต่อปี ทำให้แรงกดดันจากเงินเฟ้อที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงภาวะนโยบายการเงินยังคงมีน้อย "เมื่อมองเศรษฐกิจโดยรวมแล้ว หากความเสี่ยงขาลงจากปัจจัยนอกประเทศ ไม่ได้ทวีความรุนแรงจนเกินคาด กนง.น่าจะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 3% จนถึงปลายปี และอาจมีแนวโน้มขาขึ้นในปีหน้าจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อได้จากการเติบโตของอุปสงค์ภายในประเทศ"


วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สินเชื่อแบงก์เดี้ยงตามส่งออก ความต้องการเงินทุนวูบ50-60% ทีเอ็มบีชี้สินค้าเกษตรน่าห่วง

               นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน) หรือทีเอ็มบีกล่าวว่าจากปัญหาวิกฤติหนี้ยุโรปและเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยจนถึงขั้นติดลบ 4.46%ในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ขณะที่ประเทศไทยต้องพึ่งพิงรายได้จากการส่งออกเป็นสำคัญย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม

จากปัญหาดังกล่าวทำให้ความต้องการใช้สินเชื่อหมุนเวียนของลูกค้าธนาคารลดลงประมาณ 50-60% โดยเฉพาะกลุ่มส่งออกสินค้าการเกษตร ยางพารา ข้าว ที่ใช้วงเงินน้อยลง ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณการส่งออกสินค้าที่ลดลง ความจำเป็นในการใช้เงินทุนในการผลิตสินค้าก็ลดตามไปด้วย

ดังนั้นธนาคารจึงต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ให้ลูกค้าสามารถแข่งขันได้ดียิ่งขึ้นและจะต้องส่งผลดีต่อธุรกิจของธนาคารปัจจุบันธนาคารมีพอร์ตส่งออกและการเกษตรอยู่ที่ประมาณ 20-25%ของพอร์ตรวม

อย่างไรก็ตามยอมรับว่ากลุ่มสินเชื่อเกษตรมีความอ่อนไหวต่อสถานการณ์ดังกล่าวโดยในช่วงที่ผ่านมาก็หยุดการส่งออกสินค้า เพราะเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ลูกค้าในปัจจุบันยังไม่น่าเป็นห่วงมากนักเนื่องมาจากลูกค้ามีหนี้ต่อทุนยังไม่สูง ทำให้ยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่ก็คาดหวังว่าหลังจากที่กระทรวงพาณิชย์เปิดประมูลข้าว 7.5 แสนตันอาจจะช่วยให้ความต้องการสินเชื่อภาคการเกษตรขยายตัวได้มากขึ้น

นายบุญทักษ์กล่าวถึงแนวโน้มสินเชื่อในครึ่งปีหลังว่าจะขยายตัวได้ดีกว่าครึ่งปีแรกโดยช่วง 6 เดือนที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตแล้ว 6% คาดว่าครึ่งปีหลังจะสามารถเติบโตได้?9% ทำให้ทั้งปีเติบโตได้ตามเป้า 15%

ล่าสุดธนาคารได้ลงนามร่วมกับบริษัท พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง (PTTPM) เพื่อสนับสนุนด้านเงินทุน สภาพคล่องและระบบงานเครือข่ายพันธมิตรให้กับพีทีทีพีเอ็มและคู่ค้า ด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลายและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีมากยิ่งขึ้น เช่น บริการหนังสือค้ำประกันแบบไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันบนวงเงินเบิกเกินบัญชีเพื่อผู้ค้า (Clean Letter of Guarantee on OD for Buyer) และ บริการรับซื้อลูกหนี้การค้า (Factoring) ซึ่งธนาคารได้อนุมัติวงเงิน LG ล่วงหน้าไว้แล้ว 370 ล้านซึ่งเป็นการให้วงเงินเพิ่มขึ้นภายหลังจากที่ได้ให้การสนับสนุนวงเงิน OD for Buyer ให้กับผู้แทนจำหน่ายของ PTTPM ไปแล้วก่อนหน้านี้ (21 ราย คิดรวมเป็นมูลค่ากว่า 1,051 ล้านบาท) การให้ LG on OD for Buyer ในรูปแบบของ Supply Chain Financing กับคู่ค้า จึงนับว่าเป็นมิติใหม่ของธนาคารไทยกับการให้วงเงินในรูปแบบดังกล่าว กับเอเย่นต์ของ PTTPM เพื่อใช้ในการซื้อเม็ดพลาสติก
             
นอกจากนี้ยังให้บริการบัญชีเงินฝากเพื่อการบริหารสภาพคล่อง (Liquidity Account) ให้อัตราดอกเบี้ยพิเศษตามระดับชั้นของจำนวนเงินที่ฝากในแต่ละวันในอัตราตั้งแต่ 0.125 -1.00%ซึ่งสูงกว่าอัตราเงินฝากออมทรัพย์หรือฝากประจำทั่วไป

credit : http://www.ryt9.com/s/nnd/1479068

วิเคราะห์ข่าว :  จากปัญหาวิกฤติหนี้ยุโรปและเศรษฐกิจโลกทีชะลอตัวส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยจนถึงขั้นติดลบ ทำให้ความต้องการใช้สินเชื่อหมุนเวียนของลูกค้าธนาคารลดลง 50-60% โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าการเกษตร ยางพารา ข้าว ที่ีใช้วงเงินน้อยลง ดังนั้นธนาคารจึงต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ให้ลูกค้าสามารถาแข่งขันได้ดียิ่งขึ้น ล่าสุดธนาคารได้ลงนามร่วมกับบริษัท พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง (PTTPM) เพื่อสนับสนุนด้านการเงินทุนสภาพคล่องและระบบงานเครือข่ายพันธมิต ด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลายและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น


ผู้เสนอข่าว : นางสาวกนกวรรณ ภู่ระหงษ์ 53112804060

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

TMB คาด กนง.ตรึงดอกเบี้ยนโยบายจนถึงสิ้นปี มองอัตรา 3% สอดคล้องศก.ไทย


            ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี(TMB Analytics) ประเมินว่า หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 3% ติดต่อกันถึง 4 ครั้ง และคาดจะคงดอกเบี้ยต่อเนื่องอีกเป็นครั้งที่ 5 ในการประชุมวันที่ 5 ก.ย.นี้ แต่ด้วยโมเมนตัมเศรษฐกิจโลกที่แผ่วลง และวิกฤตหนี้ยุโรปส่งผลกระทบต่อภาคส่งออก ทำให้มุมมองในการปรับลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเริ่มมากขึ้น
            TMB Analytics มองว่าอัตราดอกเบี้ยที่ 3% ยังคงเป็นอัตราที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจไทยในภาวการณ์ปัจจุบัน เพราะหากพิจารณาจากเป้าหมายของนโยบายการเงินเพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพด้านราคา จะเห็นว่าเงินเฟ้อพื้นฐานในไตรมาส 2/55 ได้แผ่วลงจาก 3 เดือนแรกของปีมาอยู่ที่ระดับ 1.9% ซึ่งใกล้กับจุดกึ่งกลางของกรอบเป้าหมายที่ กนง.ประกาศไว้ที่ 0.5-3.0% ต่อปี ทำให้แรงกดดันจากเงินเฟ้อที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงภาวะนโยบายการเงินยังคงมีน้อย
            ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อพิจารณาพันธกิจควบคู่ของ ธปท.ในการดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตต่อเนื่อง จะได้ข้อสรุปที่คล้ายกันว่ายังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม เนื่องจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ(GDP) ในปัจจุบันได้ขยายตัวสูงกว่าระดับที่ควรจะเป็น (Potential output) ประมาณ 2.5% จากอานิสงส์การฟื้นตัวอย่างรวดเร็วภายหลังน้ำท่วมใหญ่ปีที่ผ่านมา สะท้อนจาก GDP โตดีเกินคาดในไตรมาส 2/55 ที่ขยายตัวได้ 4.2% ดังนั้นการลดดอกเบี้ยจึงอาจทำให้เศรษฐกิจไทยร้อนแรงเกินไป ส่งผลให้เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นได้
            อย่างไรก็ดี แม้ถึงแม้การปรับลดดอกเบี้ยนโยบายอาจจะนำไปสู่การไหลออกของเงินทุน ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงและอาจช่วยเหลือผู้ส่งออกได้ ตามแนวคิดทฤษฎีความเสมอภาคของอัตราดอกเบี้ย(Interest parity) แต่ทฤษฎีเดียวกันนี้ก็ชี้ว่าการอ่อนค่าของเงินบาทในช่วงแรกจะทำให้สินทรัพย์ในประเทศมีราคาถูกลงในสายตาของต่างชาติ (หนึ่งดอลลาร์เท่าเดิมจะซื้อหุ้นไทยได้มากขึ้น) และเมื่อรวมกับเงินตราต่างประเทศที่ผู้ส่งออกอาจได้รับจากยอดส่งออกที่เพิ่มขึ้น อาจทำให้บาทกลับมาแข็งค่าได้ในระยะต่อไป การควบคุมส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างประเทศไม่ให้ขยับมาก จึงเป็นการรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนไปในตัว
            "เมื่อมองเศรษฐกิจโดยรวมแล้ว หากความเสี่ยงขาลงจากปัจจัยนอกประเทศ ไม่ได้ทวีความรุนแรงจนเกินคาด กนง.น่าจะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 3% จนถึงปลายปี และอาจมีแนวโน้มขาขึ้นในปีหน้าจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อได้จากการเติบโตของอุปสงค์ภายในประเทศ" 


สรุปและวิเคราะห์ข่าว : TMB Analytics มองว่าอัตราดอกเบี้ยที่ 3% ยังคงเป็นอัตราที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจไทยในภาวการณ์ปัจจุบัน เพราะหากพิจารณาจากเป้าหมายของนโยบายการเงินเพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพด้านราคา จะเห็นว่าเงินเฟ้อพื้นฐานในไตรมาส 2/55 ได้แผ่วลงจาก 3 เดือนแรกของปีมาอยู่ที่ระดับ 1.9% ซึ่งใกล้กับจุดกึ่งกลางของกรอบเป้าหมายที่ กนง.ประกาศไว้ที่ 0.5-3.0% ต่อปี ทำให้แรงกดดันจากเงินเฟ้อที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงภาวะนโยบายการเงินยังคงมีน้อย "เมื่อมองเศรษฐกิจโดยรวมแล้ว หากความเสี่ยงขาลงจากปัจจัยนอกประเทศ ไม่ได้ทวีความรุนแรงจนเกินคาด กนง.น่าจะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 3% จนถึงปลายปี และอาจมีแนวโน้มขาขึ้นในปีหน้าจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อได้จากการเติบโตของอุปสงค์ภายในประเทศ"
 

ผู้เสนอข่าว : นายสันติ พงษ์บริบูรณ์  ID : 53112804113