ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ TMB Group 3 Blog

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

TMB หนุนไทยสตีลเคเบิลขยายธุรกิจ



29 มิถุนายน 2555
ในภาพ : นายบุญทักษ์ หวังเจริญ (ที่ 2 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี และนายชูทอง พัฒนะเมลือง (ที่ 2 จากขวา) รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท ไทยสตีลเคเบิล จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามในการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน ในวงเงิน 150 ล้านบาท เพื่อรองรับการขยายกำลังการผลิตอีก 5 ปีข้างหน้าของอุตสาหกรรมยานยนต์
TMB หนุนไทยสตีลเคเบิล ผู้ผลิตสายควบคุมยานยนต์อันดับหนึ่งของประเทศ ขยายธุรกิจพร้อมเดินหน้าเป็นพันธมิตรทางการเงินที่แข็งแกร่ง 

ทีเอ็มบีสนับสนุนวงเงินระยะยาว 150 ล้านบาทแก่ไทยสตีลเคเบิล มุ่งตอบสนองการขยายกำลังการผลิตที่กำลังขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ได้รับผลดีจากนโยบายรถคันแรกรวมถึงการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์

นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี กล่าวว่า "แม้อุตสาหกรรมยานยนต์จะได้รับผลกระทบจากอุทกภัยร้ายแรงในปี 2554 แต่ในปีนี้ มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง คาดว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ใน ปี 2555 จะมีการผลิตรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา อันเป็นผลจากการลงทุนผลิตรถยนต์รุ่นใหม่และรถยนต์ยี่ห้อใหม่ที่เริ่มผลิตในประเทศ เพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปประเทศสำคัญในเอเชีย รวมถึงนโยบายรถคันแรกของภาครัฐที่มีส่วนกระตุ้นให้เกิดอุปสงค์ (Demand )มากขึ้น ธนาคารจึงให้การสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่บริษัท ไทยสตีลเคเบิล จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีการวางแผนงบประมาณเพื่อรองรับการขยายกำลังการผลิตอีก 5 ปีข้างหน้า สำหรับใช้ในงานก่อสร้างส่วนขยายของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ที่ได้เตรียมการผลิตเพื่อรองรับกับความต้องการจากผู้ผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ชั้นนำต่อไป นอกจากนี้ เพื่อให้เกิดสภาพคล่องมากขึ้น ธนาคารยังได้ให้บริการที่ให้ความสะดวกสบายในการรับ – จ่ายเงิน (Transactional Banking) รวมทั้งบริการ Cash Management ซึ่งเป็นโซลูชั่นทางธุรกิจ ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถจัดการทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น 
วิเคราะห์และสรุปข่าว : ทีเอ็มบีสนับสนุนวงเงินระยะยาว 150 ล้านบาทแก่ไทยสตีลเคเบิล มุ่งตอบสนองการขยายกำลังการผลิตที่กำลังขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ได้รับผลดีจากนโยบายรถคันแรกรวมถึงการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี กล่าวว่า "แม้อุตสาหกรรมยานยนต์จะได้รับผลกระทบจากอุทกภัยร้ายแรงในปี 2554 แต่ในปีนี้ มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง คาดว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ใน ปี 2555 จะมีการผลิตรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา
ผู้เสนอข่าว : นายสันติ พงษ์บริบูรณ์  ID : 53112804113

วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประสิทธิภาพ​การลงทุนภาครัฐ...ชี้ชะตาศักยภาพ​เศรษฐกิจ​ไทย​ในระยะยาว...



ข่าว​เศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์​แนวหน้า -- จันทร์ที่ 4 มิถุนายน 2555 06:00:00 น.
 
ศูนย์วิ​เคราะห์​เศรษฐกิจที​เอ็มบี ​หรือ TMB Analytics ของธนาคารทหาร​ไทย(TMB) ประ​เมินว่าจากกรณีที่​การลงทุนของภาครัฐ​ในระดับต่ำ​ในช่วงกว่าทศวรรษที่ ผ่านมา​ทำ​ให้​เราสูญ​เสียขีด​ความสามารถ​ใน​การ​แข่งขัน ​เพราะ​โครงสร้างพื้นฐานของ​ไทย​ไม่​ได้รับ​การพัฒนา​เท่าที่ควร​เมื่อ​ เทียบกับประ​เทศอา​เซียนพบว่ามา​เล​เซียมี​การลงทุนของภาครัฐสูงกว่า​ไทย​ เป็น​เท่าตัว

จึง​ไม่​แปลก​เลยที่มา​เล​เซีย​ได้รับ​การจัดอันดับ​ความสามารถ​ใน​การ​ แข่งขัน​ในปี 2554 ​โดยสถาบันพัฒนา​การบริหารจัด​การระหว่างประ​เทศ (IMD) ​แห่งสวิต​เซอร์​แลนด์ ​ให้อยู่​ในอันดับที่ 16 ​เป็นรอง​แค่จากสิงค​โปร์​ในอา​เซียน ขณะที่​ไทยอยู่​ในอันดับ 27 ​แม้​เป็นอันดับ 3 ของอา​เซียน ​แต่ IMD ​ได้ระบุชัด​เจนว่า ปัจจัยหนึ่ง ที่​เป็นจุดอ่อนของ​เรา คือ​โครงสร้างพื้นฐาน​ซึ่งอยู่​เพียง​แค่อันดับที่ 42 หาก​เรา​ไม่​เร่งจำกัดจุดอ่อน​ในข้อนี้​แล้ว ​เราจะสูญ​เสีย​โอกาสอย่างมาก​เมื่อก้าวสู่ ประชาคม​เศรษฐกิจอา​เซียน (AEC) อย่าง​เต็มรูป​แบบ​ในปี 2556
​ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา​เม็ด​เงินงบประมาณที่​เจียด​ไว้สำหรับ​การลงทุน​ เรียก​ได้ว่า​แทบ​ไม่​ทำ​ให้​การลงทุนของรัฐ​เพิ่ม​เท่าที่ควรจะ​เป็น สวนทางกับ​การ​เติบ​โตของ​การลงทุนภาค​เอกชนที่มีบทบาท​เพิ่มขึ้นมากดู​ได้ จาก​ในช่วงปี  2546-2551  ​การลงทุนภาครัฐมีสัดส่วน​เฉลี่ย​เพียง 6.8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาย​ในประ​เทศ(GDP) ​เท่านั้นลดลงอย่างชัด​เจน​เมื่อ​เทียบกับช่วงก่อน​เกิดวิกฤติ​เศรษฐกิจปี 2540 ​และ​แม้​แต่ช่วงหลังวิกฤติ​เศรษฐกิจปี  2541-2545  ที่มีสัดส่วน 8.4% ของ GDP ล่าสุด​ในปี 2554 สัดส่วน​การลงทุนภาครัฐ​ได้ลดลง​ไปอีกอยู่ที่ 5.5% ของ GDP ​เท่านั้น
​แม้ว่ายังมี​เม็ด​เงินลงทุนภาย​ใต้พ.ร.ก.​ไทย​เข้ม​แข็งตกค้างท่ออยู่​ ก็ตาม ​แต่​เหตุอุทกภัย​ในช่วงปลายปี ​ทำ​ให้​เกิด​การหยุดชะงัก​ในกิจกรรมทาง​เศรษฐกิจต่างๆ ​การลงทุนภาครัฐ​จึง​แผ่วลง​ไปอีก ​และ​เชื่อว่า ส่งผลต่อ​เนื่อง​ไป​ในปี 2555 ​แม้งบรายจ่ายลงทุน​ในปี 2555 จะสูงกว่าปีก่อนหน้า​ก็ตาม ​แต่​การลงทุนผ่านพ.ร.ก.กู้​เงินบริหารจัด​การน้ำฯ จะมี​การ​เบิกจ่าย​ในปีนี้​ไม่มาก (สศค.คาดที่ 3 หมื่นล้านบาท ​และ 2.1 ​แสนล้านบาท ​ในปี 2555 ​และ 2556) ​ทำ​ให้​การลงทุนภาครัฐอยู่​เพียงประมาณ 4% ของ GDP ​เท่านั้น
ล่าสุดร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 มีวง​เงิน​ถึง 2.4 ล้านล้านบาท ​เพิ่มขึ้นกว่า 2 หมื่นล้านบาท ​ซึ่งยังคงขาดดุลต่อ​เนื่องจากปีก่อนๆ ​โดยตั้งงบขาดดุลที่ 3 ​แสนล้านบาท ต่ำกว่าปี 2555 ที่ตั้งขาดดุล 4 ​แสนล้านบาท หากดู​เฉพาะงบ​การลงทุนจะจัดสรร​ไว้ที่ 4.67 ​แสนล้านบาท ​หรือ 20% งบประมาณรวม ​เป็นตัว​เลขที่ดูดี​โดยยัง​ไม่นับ​การลงทุน​เพิ่ม​เติมตามกฎหมายพิ​เศษ ​เช่น พ.ร.ก.กู้​เงิน​เพื่อวางระบบบริหารจัด​การน้ำฯ วง​เงินอีก 3.5 ​แสนล้านบาท
ดังนั้นหาก​ไม่​เกิด​เหตุ​การณ์ผิดปกติ​ใดๆ ฉุดบรรยากาศ​การลงทุน​แล้ว ​เม็ด​เงินลงทุนภาครัฐที่ผ่านงบประมาณ​และพ.ร.ก.บริหารจัด​การน้ำฯ รวม​แล้วจะอยู่ที่ 6.77 ​แสนล้านบาท (ยัง​ไม่นับรวม​แผน​การลงทุนด้าน​โครงสร้างพื้นฐาน​ในช่วงปี  2555-2559  วง​เงิน 2.27 ล้านบาท ที่ยัง​ไม่มี​ความชัด​เจนของ​การลงทุน​ใน​แต่ละปี) ​ทำ​ให้สัดส่วน​การลงทุน ภาครัฐจะกลับ​ไปสูง​ใกล้​เคียงกับปี 2554 ​เป็นสัญญาณที่ดีของ​การลงทุนภาครัฐ​ในระยะต่อ​ไป​และจะ​เป็นปัจจัยสนับสนุน ​การฟื้นตัว​และ​การ​เจริญ​เติบ​โต​ในระยะยาวของ​เศรษฐกิจ
อย่าง​ไร​ก็ตามหนี้ก้อน​ใหญ่ที่พอกพูนขึ้น​เนื่องจาก​เรามีข้อจำกัดของงบ ประมาณรายรับ​ใน​แต่ละปีจะ​ทำ​ให้ภาระหนี้ของประ​เทศ​เข้า​ใกล้จุดอันตราย มากขึ้น​เรื่อยๆ ​เหมือนกับหลายๆประ​เทศ​ในยุ​โรปกำลังประสบปัญหาอยู่
​ในขณะนี้ ที่สร้างหนี้สาธารณะ​ไว้มากมาย​แต่สุดท้ายกลับ​ไม่สามารถ​เพิ่มศักยภาพของ​ เศรษฐกิจ​ได้​เลย​แม้​แต่นิด​เดียว ดังนั้น ประสิทธิภาพของบริหารจัด​การ​โครง​การ​การลงทุน ​เป็นสิ่งสำคัญที่​ไม่อาจมองข้าม​ได้ ​เพื่อ​ไม่​ให้​เป็นข้อจำกัด​และบั่นทอน ​การพัฒนา​เศรษฐกิจ​ในระยะยาว
ที่มา : ศูนย์วิ​เคราะห์​เศรษฐกิจที​เอ็มบี



Credit : http://www.ryt9.com/s/nnd/1416582

วิเคราะห์ข่าว : ศูนย์วิ​เคราะห์​เศรษฐกิจที​เอ็มบี ​หรือ TMB Analytics ของธนาคารทหาร​ไทย(TMB) ประ​เมินว่าจากกรณีที่​การลงทุนของภาครัฐ​ในระดับต่ำ​ในช่วงกว่าทศวรรษที่ ผ่านมา​ทำ​ให้​เราสูญ​เสียขีด​ความสามารถ​ใน​การ​แข่งขัน ​เพราะ​โครงสร้างพื้นฐานของ​ไทย​ไม่​ได้รับ​การพัฒนา​เท่าที่ควร​เมื่อ​ เทียบกับประ​เทศอา​เซียนพบว่ามา​เล​เซียมี​การลงทุนของภาครัฐสูงกว่า​ไทย​ เป็น​เท่าตัว และในขณะนี้ ที่สร้างหนี้สาธารณะ​ไว้มากมาย​แต่สุดท้ายกลับ​ไม่สามารถ​เพิ่มศักยภาพของ​ เศรษฐกิจ​ได้​เลย​แม้​แต่นิด​เดียว ดังนั้น ประสิทธิภาพของบริหารจัด​การ​โครง​การ​การลงทุน ​เป็นสิ่งสำคัญที่​ไม่อาจมองข้าม​ได้ ​เพื่อ​ไม่​ให้​เป็นข้อจำกัด​และบั่นทอน ​การพัฒนา​เศรษฐกิจ​ในระยะยาว

ผู้เสนอข่าว : นายธงไชย เขมาธร ID53112804112 


TMB ขายหุ้น TNPC ออก 0.49% คงเหลือ 4.65%




สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน 2555     
      สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)เปิดเผยว่า ก.ล.ต.ได้รับรายงานการจำหน่าย หุ้นของบมจ. ไทยนามพลาสติกส์(TNPC)โดยธนาคารทหารไทย(TMB) ซึ่งเป็นการจำหน่าย  เมื่อวันที่ 26/06/2555 จำนวนหลักทรัพย์ที่จำหน่ายคิดเป็น  -0.49% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการจำหน่ายคิดเป็น  4.65% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ


    วิเคราะห์ข่าว : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ได้รับรายงานการจำหน่ายหุ้น ของ บมจ. ไทยนามพลาสติกส์(TNPC) โดยธนาคารทหารไทย ซึ่งจำหน่ายคิดเป็น -0.49% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดขอกิจกา จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังจำหน่ายคิดเป็น 4.65% 

     ผู้เสนอข่าว : นายวรพงษ์ เจริญสรรพพืช ID : 53112804116

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ทริสเรทติ้งคงอันดับเครดิต “ธ. ทหารไทย” องค์กรที่ “A+” หุ้นกู้ด้อยสิทธิไม่มีประกันที่ “A”



          บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศคงอันดับเครดิตองค์กรของ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ “A+” และคงอันดับเครดิตหุ้นกู้ด้อยสิทธิไม่มีประกันและหุ้นกู้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุนซึ่งนับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของธนาคารที่ระดับ “A” และ “BBB+” ตามลำดับ โดยแนวโน้มยังคง “Stable” หรือ คงที่อันดับเครดิตดังกล่าวสะท้อนถึงความสามารถของคณะผู้บริหารและการได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของธนาคารคือ ING Bank N.V. (ING Bank) อันดับเครดิตยังสะท้อนสภาพคล่องในระดับสูงและปริมาณเงินกองทุนจำนวนมากของธนาคารด้วย อย่างไรก็ตาม จุดแข็งดังกล่าวถูกลดทอนโดยปริมาณสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ที่อยู่ในระดับสูง ตลอดจนความสามารถในการทำกำไรที่ค่อนข้างอ่อนแอ การแข่งขันที่ทวีความรุนแรงในธุรกิจธนาคารพาณิชย์ รวมถึงความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศและภาวะการเงินโลก ทั้งนี้ ปัจจัยดังกล่าวอาจจำกัดโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจและความสามารถในการทำกำไรของธนาคาร ในขณะที่แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ คงที่สะท้อนความคาดหมายว่าธนาคารจะสามารถปรับปรุงคุณภาพสินทรัพย์ ตลอดจนฐานะการเงิน และประสิทธิภาพในการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป การได้รับการสนับสนุนจาก ING Bank คาดว่าจะช่วยให้ธนาคารมีระบบบริหารความเสี่ยงที่ดีขึ้น อีกทั้งจะช่วยเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจและขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนช่วยสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่ธนาคารได้ในระยะกลาง นอกจากนี้ แนวโน้มอันดับเครดิตยังอยู่บนพื้นฐานการคาดการณ์ว่าการลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากจาก 50 ล้านบาทเหลือเพียง 1 ล้านบาทในเดือนสิงหาคม 2555 นี้จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบอย่างรุนแรงต่อระบบธนาคารในทันที

          สำหรับอันดับเครดิต “BBB+” ของหุ้นกู้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุนซึ่งนับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของธนาคารจำนวน 4,000 ล้านบาท (TMB09PA) นั้นสะท้อนถึงความด้อยสิทธิและความเสี่ยงในการเลื่อนชำระดอกเบี้ยของหุ้นกู้ดังกล่าว โดยหุ้นกู้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุนเป็นหุ้นกู้ที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระคืน ไม่สะสมผลตอบแทน มีลักษณะด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน และธนาคารสามารถไถ่ถอนคืนได้หลังจาก 5 ปีนับจากวันที่ออกตราสาร และไถ่ถอนได้ทุก ๆ 6 เดือนหลังจากนั้น ผู้ถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิประเภทนี้จะได้รับการชำระเงินในลำดับถัดจากผู้ฝากเงิน ผู้ถือหุ้นกู้ไม่มีประกัน และผู้ถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิของธนาคาร โดยธนาคารจะไม่มีภาระผูกพันในการจ่ายดอกเบี้ยในกรณีที่ธนาคารมีผลขาดทุนในรอบบัญชีก่อนวันกำหนดชำระดอกเบี้ย ทั้งนี้ การไม่จ่ายดอกเบี้ยดังกล่าวไม่ถือเป็นการผิดนัดชำระหนี้ของธนาคาร

          ทริสเรทติ้งรายงานว่า ผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารทหารไทยประกอบด้วยกลุ่ม ING Bank และกระทรวงการคลัง โดยมีสัดส่วนการถือหุ้น ณ เดือนมีนาคม 2555 เท่ากับ 30.1% และ 26.1% ของหุ้นทั้งหมดตามลำดับ ING Bank ในฐานะหุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์ของธนาคารเข้ามามีบทบาทในการบริหารงานและช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่สถานะการเงินและธุรกิจของธนาคาร โดยธนาคารได้นำความรู้ในการบริหารความเสี่ยงรวมถึงจุดแข็งด้านการให้บริการแก่ลูกค้ารายย่อยของ ING Bank มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ปัจจัยดังกล่าวนับเป็นสิ่งสำคัญที่จะผลักดันให้ธนาคารเติบโตในอนาคต นอกจากนี้ ธนาคารยังได้ดำเนินโครงการ Transformation Program มาตั้งแต่ปี 2551 เพื่อปรับเปลี่ยนให้ธนาคารเป็นองค์กรที่ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางและมุ่งเน้นการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อความสำเร็จในอนาคต อย่างไรก็ตาม คณะผู้บริหารยังคงเผชิญกับความท้าทายในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ตลอดจนการขยายฐานสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดกำไร การพัฒนาคุณภาพสินทรัพย์ และการรักษาฐานเงินทุนให้มีความมั่นคงท่ามกลางสภาพแวดล้อมการดำเนินธุรกิจในอนาคตที่ยังไม่มีความแน่นอน

          ทริสเรทติ้งกล่าวว่า ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2555 ธนาคารทหารไทยเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดของสินทรัพย์รวมใหญ่เป็นอันดับ 7 โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดของเงินให้สินเชื่อ 4.9% และเงินรับฝาก 5.9% ธนาคารมีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 713.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.7% จาก 638.6 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2554 ธนาคารมีฐานะทางการเงินดีขึ้น โดยในปี 2554 มีกำไรสุทธิ 4,009 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.2% จาก 3,202 ล้านบาทในปี 2553 อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมถัวเฉลี่ย (ROAA) และผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นถัวเฉลี่ย (ROAE) สำหรับปี 2554 เท่ากับ 0.61% และ 7.85% ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจาก 0.57% และ 6.63% ในปี 2553 จากผลของการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียมเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสแรกของปี 2555 ธนาคารมีผลประกอบการลดลงเล็กน้อยเนื่องจากมีการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น โดยธนาคารมีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 1,031 ล้านบาท ลดลง 5.9% จากงวดเดียวกันของปีก่อนโดย ROAA และ ROAE ที่ยังไม่ได้ปรับเต็มปีเท่ากับ 0.14% และ 1.95% ตามลำดับ ลดลงจาก 0.18% และ 2.20% สำหรับช่วงเดียวกันของปีก่อน และแม้ว่าฐานะทางการเงินของธนาคารจะดีขึ้นในช่วงปี 2551-2554 แต่ความสามารถในการรักษาเสถียรภาพทางการเงินยังคงต้องรอการพิสูจน์ต่อไป

          ธนาคารทหารไทยได้ดำเนินการปรับปรุงคุณภาพสินทรัพย์ตามแผนกลยุทธ์ทั้งโดยวิธีการปรับโครงสร้างหนี้ การจำหน่ายสินเชื่อด้อยคุณภาพ และการตัดจำหน่ายหนี้เสียออกจากบัญชี ส่งผลให้ NPL ลดลงอย่างต่อเนื่อง จาก 36.0 พันล้านบาทในปี 2553 เป็น 29.8 พันล้านบาทในปี 2554 อัตราส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมลดลงจาก 9.91% ในปี 2553 เป็น 7.49% ในปี 2554 ในขณะที่อัตราส่วนสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPA) (สินเชื่อจัดชั้นค้างชำระเกิน 3 เดือน สินเชื่อที่ปรับโครงสร้างหนี้ และทรัพย์สินรอการขาย) ต่อสินทรัพย์รวมในปี 2554 เท่ากับ 5.07% ลดลงจาก 7.84% ในปี 2553 อย่างไรก็ตาม ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2555 NPL เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 30.5 พันล้านบาท (คิดเป็น 7.59% ของสินเชื่อรวม) โดยอัตราส่วน NPL ของธนาคารยังคงอยู่ในระดับสูงที่สุดในบรรดาธนาคารพาณิชย์ไทยทั้ง 11 แห่ง (ไม่รวมธนาคาร 4 แห่งที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) และสูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมที่ 3.59% ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องติดตามความสามารถในการควบคุมคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารอย่างใกล้ชิดต่อไป

          ทางด้านแหล่งเงินทุนและสภาพคล่องนั้น ธนาคารทหารไทยสามารถปรับโครงสร้างเงินทุนให้มีการกระจายตัวดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำกว่าและมีเสถียรภาพมากขึ้น โดย ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2555 ธนาคารมีเงินรับฝากประเภทบัญชีกระแสรายวันและออมทรัพย์คิดเป็น 59% ของเงินรับฝากรวมตั๋วแลกเงินซึ่งเพิ่มขึ้นจากระดับ 43% ในปี2553 นอกจากนี้ ธนาคารยังดำรงสภาพคล่องให้อยู่ในระดับสูง โดยมีอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินรับฝากรวมตั๋วแลกเงิน ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2555 เท่ากับ 83.3% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมที่ระดับ 95.5%

          ธนาคารทหารไทยมีฐานเงินทุนและสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่มากพอเพื่อใช้รองรับความสูญเสียที่มิอาจคาดการณ์ได้จากความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของภาวะแวดล้อมในการดำเนินงาน ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2555 ธนาคารมี NPA คิดเป็น 0.40 เท่าของเงินกองทุนรวมสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ โดยลดลงจาก 0.53 เท่าในปี 2553 และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมที่ระดับ 0.50 เท่า นอกจากนี้ ธนาคารยังมีฐานเงินทุนที่เพียงพอสำหรับใช้ขยายธุรกิจในระยะกลาง โดย ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2555 ธนาคารมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ต่อสินทรัพย์เสี่ยง (Tier-1 Ratio) และอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) เท่ากับ 11.19% และ 16.24% ตามลำดับ ลดลงเล็กน้อยจาก 11.33% และ 16.59% ณ สิ้นปี 2553 อันเป็นผลจากปริมาณสินทรัพย์เสี่ยงที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของเงินให้สินเชื่อ อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนดังกล่าวของธนาคารยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมที่ระดับ 10.39% และ 14.89% ตามลำดับ และสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ระดับ 4.25% และ 8.50% ตามลำดับ ทริสเรทติ้งกล่าว

ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB)
อันดับเครดิตองค์กร: คงเดิมที่ A+
อันดับเครดิตตราสารหนี้:
TMB19NA: หุ้นกู้ด้อยสิทธิไม่มีประกัน 5,300 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2562 คงเดิมที่ A
TMB204A: หุ้นกู้ด้อยสิทธิไม่มีประกัน 8,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2563 คงเดิมที่ A
TMB09PA: หุ้นกู้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุนซึ่งนับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 4,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2652 คงเดิมที่ BBB+
แนวโน้มอันดับเครดิต: Stable (คงที่)



สรุปและวิเคราะห์ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศคงอันดับเครดิตองค์กรของ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ “A+” และคงอันดับเครดิตหุ้นกู้ด้อยสิทธิไม่มีประกันและหุ้นกู้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุนซึ่งนับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของธนาคารที่ระดับ “A” และ “BBB+” ตามลำดับ โดยแนวโน้มยังคง “Stable” หรือ คงที่ ทริสเรทติ้งกล่าวว่า ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2555 ธนาคารทหารไทยเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดของสินทรัพย์รวมใหญ่เป็นอันดับ 7 โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดของเงินให้สินเชื่อ 4.9% และเงินรับฝาก 5.9% ธนาคารมีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 713.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.7% จาก 638.6 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2554 ธนาคารมีฐานะทางการเงินดีขึ้น โดยในปี 2554 มีกำไรสุทธิ 4,009 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.2% จาก 3,202 ล้านบาทในปี 2553 โดย ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2555 ธนาคารมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ต่อสินทรัพย์เสี่ยง (Tier-1 Ratio) และอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) เท่ากับ 11.19% และ 16.24% ตามลำดับ ลดลงเล็กน้อยจาก 11.33% และ 16.59% ณ สิ้นปี 2553

ผู้เสนอข่าว : นายสันติ พงษ์บริบูรณ์  ID : 53112804113

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ที​เอ็มบี มีกำ​ไร 1,032 ล้านบาท ​ใน​ไตรมาส​แรกของปี 2555




ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) มีผลกำไรสุทธิ 1,032 ล้านบาท สำหรับการดำเนินงานในไตรมาส 1 ของปี 2555 ซึ่งเพิ่มขึ้น 6.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลง 5.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2554
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี กล่าวว่า ในไตรมาสแรกของปีนี้ ธนาคารมีผลการดำเนินงานหลัก (core operation) ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนต่างดอกเบี้ยรับ (Net Interest Margin — NIM) เพิ่มขึ้นเป็น 2.51% จาก 2.46% ในไตรมาสที่ 4/2554 และจาก 2.23% ในไตรมาสที่ 1/2554 ในขณะเดียวกัน รายได้ของธนาคารปรับตัวขึ้นทั้งรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ที่มิใช่ดอก เบี้ย ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ (cost to income ratio) ในไตรมาสนี้ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 59.0% เมื่อเทียบกับ 76.5% ในไตรมาสที่ 4/2554 และ 67.0% ในไตรมาสที่ 1/2554 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการจัดการของธนาคารซึ่งมีพัฒนา การที่ดีมาโดยตลอด
ณ สิ้นไตรมาส ธนาคารมีปริมาณเงินให้สินเชื่อเพิ่มขึ้น 0.8% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2554 โดยส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวของสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก
ธนาคารมีปริมาณเงินฝากเพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2554 ทั้งนี้เป็นผลจากการที่เงินฝากประจำบางส่วนครบกำหนด ในขณะที่เงินฝากในผลิตภัณฑ์เงินออมใหม่ๆ ที่เพิ่มพูนประโยชน์และคุณค่าให้ลูกค้ามากยิ่งขึ้นตามแนวคิด “Make THE Difference — พลังในตัวคุณเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้นมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น บัญชีเงินฝากไม่ประจำทีเอ็มบี (TMB No Fixed) ซึ่งเป็นเงินฝากประจำที่ถอนได้ก่อนกำหนดและเงินฝากของบริการธนาคาร รูปแบบใหม่ “ME by TMB” ซึ่งเป็นบริการธนาคารสำหรับลูกค้าที่ชอบจัดการด้านการเงินด้วยตัวเอง และได้รับผลประโยชน์มากกว่า
ธนาคารมีการบริหารจัดการสภาพคล่องตามนโยบายที่รอบคอบและระมัดระวัง ซึ่งในไตรมาสที่ 1/2555 สภาพคล่องของธนาคารอยู่ในระดับสูง ด้วยส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากรวมและตั๋วเงินฝาก (loan to deposit & B/E ratio) อยู่ที่ระดับ 87.0% ในไตรมาสที่ 1/2555 สินเชื่อด้อยคุณภาพของธนาคารและบริษัทย่อยมีจำนวน 30,470 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจำนวน 642 ล้านบาทจากสิ้นปี 2554 ทั้งนี้ เป็นผลจากการผิดนัดชำระหนี้ของลูกค้ารายใหญ่ ในขณะที่ผลกระทบจากน้ำท่วมมีไม่มาก สัดส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพของธนาคารและบริษัทย่อยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมา อยู่ที่ 5.8% จาก 5.7% เมื่อสิ้นปี 2554 และสัดส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพเฉพาะของธนาคารอยู่ที่ 5.4%
ธนาคารได้มีการตั้งสำรองทั้งหมดจำนวน 1,242 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 1/2555 ส่งผลให้อัตราส่วนสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพของธนาคารเพิ่มขึ้นเป็น 74% เมื่อเทียบกับ 73% ณ สิ้นปี 2554
ข่าวเศรษฐกิจ ThaiPR.net -- อังคารที่ 17 เมษายน 2555 16:52:34 น.



นายอนุศักดิ์ บัวสมบูรณ์    ID: 53112804110
 
สรุปและวิเคราะห์:  การที่ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) มีผลกำไรสุทธิ 1,032 ล้านบาทซึ่งทำให้สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการจัดการของธนาคารซึ่งมีพัฒนา การที่ดีมาโดยตลอดจึงทำให้ธนาคารมีผลกำไรเพิ่มขึ้น อีกทั้งธนาคารทหารไทยได้รับความนิยมจากลุกค้ามากขึ้นซึ่งดูได้จากยอกการเปิดบัญชีที่เพิ่มขึ้นมาโดยตลอดเพราะทางธนาคารมีจุดแข็งและมีกลยุทธ์ที่ดึงดูดลูกค้าทำให้ลูกค้ามีความมั้นใจในการใช้บริการของธนาคารทหารไทย

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

TMB-IFC ร่วมปล่อยกู้​เป็น​เงินดอลลาร์​ให้​เอส​เอ็มอี


TMB-IFC ร่วมปล่อยกู้เป็นเงินดอลลาร์ให้เอสเอ็มอีวงเงิน 100 ล้านเหรียญฯ


ธนาคารทหารไทย(TMB)ร่วมกับบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ(ไอเอฟซี)ตกลง ความร่วมมือในการปล่อยสินเชื่อระยะยาวสกุลดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการส่งออกเอสเอ็มอีในวงเงินรวม 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยระยะแรกคิดอัตราดอกเบี้ยพิเศษคงที่ 4.9% ต่อปี อายุสินเชื่อ 3-5 ปี วงเงินปล่อยกู้ขั้นต่ำ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยอัตราดอกเบี้ยพิเศษจะให้ถึงแค่ 30 มิ.ย.เท่านั้น หลังจากนั้นเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ แต่จะสูงขึ้นจากอัตราดังกล่าว ซึ่งปกติการกู้เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐจะมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 6% กว่า อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับการกู้เป็นเงินบาทลูกค้าจะประหยัดได้ 3% ต่อปี และลูกค้าจะประหยัดจากการที่ไม่ต้องซื้อเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง อัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งธนาคารคาดว่าวงเงินดังกล่าวน่าจะหมดภายใน 1 เดือน ซึ่งขณะนี้ธนาคารมีลูกค้าเอสเอ็มอีประมาณ 30% ของพอร์ตรวม หรือวงเงินสินเชื่อประมาณ 3 แสนล้านบาท

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 29 พฤษภาคม 2555 11:58:13 น.
http://www.ryt9.com/tag/ธนาคารทหารไทย

           สรุปและวิเคราะห์:  ถือเป็นช่วงและสิทธิ์ประโยชน์ดีๆจากทีเอ็มบีที่มอบให้กับลูกค้าที่เป็นกลุ่มของเอสเอ็มอี ที่ทาง ทีเอ็มบี ปล่อยวงเงินปล่อยกู้ขั้นต่ำ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐและมีอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งหากเทียบกับการกู้เป็นเงินบาทลูกค้าจะประหยัดได้ 3% ต่อปี


           ผู้เสนอข่าว : นายอนุศักดิ์ บัวสมบูรณ์ ID : 53112804110 

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ธนาคารพาณิชย์ไทย ผงาดเป็นผู้นำตลาดบัตรเครดิต





ธนาคารพาณิชย์ไทย ผงาดเป็นผู้นำตลาดบัตรเครดิต
5 เมษายน 2555
          ตลาดธุรกิจบัตรเครดิตในประเทศไทยมีผู้ประกอบการแบ่งเป็นสามกลุ่มคือ ธนาคารพาณิชย์ไทย สาขาธนาคารต่างประเทศ และ บริษัทผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต (Non-Bank) ซึ่งกลุ่มหลังนั้นรวมถึงบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ไทยที่ตั้งขึ้นเพื่อรุกตลาดบัตรเครดิตโดยเฉพาะด้วย เมื่อห้าปีก่อน บัตรเครดิตของ Non-Bank จะครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดประมาณครึ่งหนึ่งของอุตสาหกรรม ทั้งจำนวนบัตรและยอดคงค้างสินเชื่อ แต่ส่วนแบ่งตลาดยอดคงค้างค่อยๆลดลงจนในปีที่แล้วบัตรธนาคารพาณิชย์ไทย แซงมามีส่วนแบ่งตลาดสินเชื่อคงค้างสูงที่สุดคือ 44% จากการขยายตัวที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าและการแข่งขันสูงมาโดยต่อเนื่อง ตามด้วย Non-Bank 39% และ สาขา ตปท 17% ในช่วงแรกๆ นั้น ภาพของการแข่งขันจะเน้นที่การทำเป้าจำนวนบัตรเครดิต จนทำให้จำนวนบัตรขยายตัวถึง 10% ต่อปี แต่ปรากฎว่าบัตรเครดิตจำนวนหนึ่งไม่ได้ถูกนำไปใช้ กลายเป็นต้นทุนจมของผู้ประกอบการออกบัตร ภายหลัง จึงหันมาใช้กลยุทธ์จูงใจให้ผู้ถือบัตรใช้จ่ายผ่านบัตรมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการส่งเสริมการขายร่วมกับกิจการร้านค้าต่างๆรวมถึงการให้เงินสดคืน อัตราการเพิ่มของจำนวนบัตรในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาจึงเฉลี่ยเหลือเพียง 5% ต่อปีเท่านั้น

การใช้จ่ายผ่านบัตร ไม่รวมการกดเงินสด ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา บัตรของธนาคารพาณิชย์ไทยมีอัตราการเติบโตสูงสุดถึง 18% ต่อปี ขณะที่ของ สาขา ตปท. และ Non-Bank เติบโต 10% และ 8% ตามลำดับ ในขณะที่ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณเพียง 3% ต่อปี แสดงว่า การใช้จ่ายบัตรเครดิตมีธุรกรรมเพิ่มขึ้นจริง ไม่ใช่เพิ่มเพราะระดับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น ไม่เพียงแต่เท่านี้ การใช้จ่ายต่อบัตรของธนาคารพาณิชย์ไทย ก็มีพัฒนาการดีที่สุดในกลุ่ม เมื่อพิจารณาการใช้จ่ายต่อบัตร พบว่ามีการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่า โดยของธนาคารพาณิชย์ไทย เพิ่ม 9% ขณะที่ของ สาขา ตปท. และ Non-Bank เพิ่มขึ้น 5% และ 1% ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า การขยายฐานลูกค้าด้วยการเพิ่มจำนวนบัตรยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง และยังมีบัตรบางส่วนถูกแช่ทิ้งไว้เฉยๆ ทำให้อัตราการเพิ่มขึ้น ต่ำกว่าการใช้จ่ายโดยรวม

การใช้จ่ายต่อบัตรต่อเดือนของธนาคารพาณิชย์ไทย ปัจจุบันเฉลี่ยประมาณ 5,600 บาท กระโดดขึ้นจากเดิมที่ 3,600 บาทเมื่อห้าปีก่อน, สาขา ตปท. ปัจจุบันประมาณ 7,800 บาท จากประมาณ 6,000 บาท, และ ในส่วนการใช้จ่ายต่อบัตรของ Non-Bank แทบไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมในอดีตที่ 3,100 บาท เป็น 3,200 บาทเท่านั้น ซึ่งหากคำนึงถึงเฉพาะบัตรที่มีการใช้จ่ายสม่ำเสมอ ที่มีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของบัตรทั้งหมด ยอดการใช้จ่ายต่อบัตรก็จะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว ในด้านยอดการเบิกเงินสดล่วงหน้าก็ไม่ต่างกัน บัตรธนาคารพาณิชย์ ไทยมีอัตราเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่คู่แข่งอย่าง สาขา ตปท. และ Non-Bank กลับหดตัวลง ถึงแม้ยอดการเบิกเงินสดต่อบัตรล้วนหดตัวอยู่ในแดนลบกันหมด

ด้านหนี้เสียของธุรกิจบัตรเครดิต โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ คือ ที่ประมาณ 2% ต่อยอดคงค้างสินเชื่อ (NPL ratio) ลดลงจากช่วงสามสีปีก่อนหน้าที่ระดับประมาณ 4% สัดส่วนหนี้เสียนี้ มีระดับไม่แตกต่างกันมากสำหรับบัตรผู้ประกอบการแต่ละกลุ่ม แต่แนวโน้มสัดส่วนหนี้เสียของ ธนาคารพาณิชย์ไทย ลดลงต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ต่างจากของผู้ประกอบการอีกสองกลุ่มที่มีแนวโน้มทรงหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

อย่างไรก็ดี ด้วยแนวโน้มธุรกิจธบัตรเครดิตที่ยังเติบโตได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากมาตรการขึ้นเงินเดือนขั้นต่ำผู้จบปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท ซึ่งเข้าเกณฑ์รายได้ที่สามารถขอสินเชื่อบัตรเครดิตได้ ทำให้ธุรกิจบัตรเครดิตยิ่งมีสีสันน่าสนใจยิ่งขึ้น จนกระทั่งสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ก็ยังแสดงท่าทีสนใจสินเชื่อรายย่อยลักษณะนี้เช่นกัน ดังนั้น ธนาคารพาณิชย์ไทย ก็ไม่อาจประมาทคู่แข่งทั้งหน้าเดิมและหน้าใหม่ได้เลย


สรุปและวิเคราะห์: ตลาดธุรกิจบัตรเครดิตในประเทศไทยมีผู้ประกอบการแบ่งเป็นสามกลุ่มคือ ธนาคารพาณิชย์ไทย สาขาธนาคารต่างประเทศ และ บริษัทผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต (Non-Bank) ซึ่งกลุ่มหลังนั้นรวมถึงบริษัทลูกของธนาคารพาณิชย์ไทยที่ตั้งขึ้นเพื่อรุกตลาดบัตรเครดิตโดยเฉพาะด้วย บัตรของธนาคารพาณิชย์ไทยมีอัตราการเติบโต การใช้จ่ายบัตรเครดิตมีธุรกรรมเพิ่มขึ้น การใช้จ่ายต่อบัตรของธนาคารพาณิชย์ไทย ก็มีพัฒนาการดีที่สุดในกลุ่มด้วยแนวโน้มธุรกิจธบัตรเครดิตที่ยังเติบโตได้ต่อเนื่อง

ผู้เสนอข่าว : นางสาวสุจิตรา เคหารมย์ ID: 53112804111

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กนง.คงดอกเบี้ยหลังปัจจัยภายนอกกดดัน





กนง.คงดอกเบี้ยหลังปัจจัยภายนอกกดดัน

14 มิถุนายน 2555

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ TMB หรือ TMB Analytics มอง กนง.จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.00 ในการประชุมกลางสัปดาห์นี้ ขณะที่แนวโน้มทิศทางดอกเบี้ยนโยบายจะทรงหรือจะขึ้นในปีนี้ ขึ้นกับปัจจัยเสี่ยงจากต่างประเทศเป็นสำคัญ

ด้วยปัจจัยบวกจากเศรษฐกิจภายในที่ฟื้นตัวหักกลบกับปัจจัยลบจากการชะลอตัวของ เศรษฐกิจต่างประเทศ ส่วนหนึ่งจากปัญหาการคลังที่เรื้อรังของกลุ่มยุโรป ทำให้ กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.00 มาอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ปรับลดเพียงครั้งเดียวเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา เพื่อเอื้อต่อการฟื้นตัวของภาคธุรกิจหลังเผชิญอุทกภัยครั้งใหญ่ และคาดว่าจะยังคงระดับดอกเบี้ยต่อไป เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐและจีนเริ่มส่งสัญญาณแผ่วลง อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนของสถานการณ์เศรษฐกิจการเงินต่างประเทศทำให้ความชัดเจนของทิศ ทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายว่าจะไปสิ้นสุดที่เท่าใดในปีนี้ มีความคลุมเครือมากขึ้น โดยต้องติดตามสถานการณ์ทั้งในและนอกประเทศอย่างใกล้ชิด ซึ่งเงื่อนไขสำคัญต่อแนวโน้มทิศทางของอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงเวลาเหลือ ของปีนี้ ประกอบด้วย

1.ปัจจัยภายในประเทศ จากสองสาเหตุหลักคือ เงินเฟ้อ กับ การเมือง โดย ด้านเงินเฟ้อนั้น หากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ และจีนกลับดีขึ้น ราคาน้ำมันที่จะปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว จะกดดันให้เงินเฟ้อกลับมาสูงขึ้นอีกได้ ในขณะที่ผลจากการปรับขึ้นค่าแรงในช่วงที่ผ่านมานั้น จะกลับมาเริ่มส่งผลอีกทีในช่วงปลายปี ส่วนปัจจัยการเมืองในประเทศนั้น ประเมินว่า ไม่น่าเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบรุนแรงเช่นสองปีก่อน ซึ่งจริงๆ แล้ว การเกิดเหตุการณ์ในครั้งนั้น กระทบต่อเศรษฐกิจเพียงในระยะสั้นๆ จึงไม่กดดันให้เกิดการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ต้องมองภาพในระยะยาว มากกว่า ดังนั้น ประเด็นเรื่องการเมืองในปีนี้ จึงอยู่ในระดับเพียง เฝ้าดูไม่ถึงกับ เฝ้าระวัง

2.ปัจจัยต่างประเทศ จากสองสาเหตุหลักคือ ปัญหาการคลังของยุโรปที่ยังไม่สิ้นสุด และภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ และจีนสถานการณ์ ในยุโรปขึ้นกับตัวแปรหลัก ณ ขณะนี้ คือ ผลการเลือกตั้งของกรีซ ว่าจะได้รัฐบาลที่จะดำเนินนโยบายรัดเข็มขัดทางการคลัง ตามที่ประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินต้องการหรือไม่ และส่งผลสืบเนื่องมายังการดำรงสมาชิกภาพของอียูต่อหรือไม่ด้วย ซึ่งส่งผลให้เกิดความผันผวนในตลาดการเงิน และตลาดกังวลต่อผลกระทบลุกลามเกิดขึ้นต่อเนื่องไปยังประเทศสมาชิกในเศรษฐกิจ กลุ่มยูโร นอกจากนั้น เศรษฐกิจของสหรัฐฯ และ จีน ซึ่งเป็นประเทศที่จะช่วยดึงการเติบโตของเศรษฐกิจโลกขึ้นจากกลุ่มอียูที่ฉุด รั้ง เริ่มแผ่วลง จากดัชนีเศรษฐกิจหลายตัว อาทิ ดัชนีภาคการผลิต PMI (Purchasing Manager Index) ที่ส่งสัญญาณดังกล่าว ทำให้ความน่าจะเป็นที่เศรษฐกิจโลกอาจชะลอตัวกว่าที่ประเมินไว้ มีความเป็นไปได้มากขึ้นสำหรับปีนี้ แต่หากโมเมนตัมเศรษฐกิจสหรัฐฯ และ จีน กลับปรับตัวขึ้น ดังที่กล่าวข้างต้นว่าจะสร้างแรงกดดันเงินเฟ้อให้เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ความเสี่ยงเรื่องระดับราคากลับมาใหม่ ก็อาจทำให้ทางการต้องดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวเล็กน้อยได้ เพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจและระดับราคาภายในประเทศ

กล่าวโดยสรุป ด้วยสถานการณ์ในปีนี้ TMB Analytics ประเมินว่า “น้ำหนักของปัจจัยจากต่างประเทศมีอิทธิพลต่อการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยของไทยมากกว่าปัจจัยจากภายในประเทศ” เราจึงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์เศรษฐกิจการเงินของกลุ่มประเทศหลักๆ อย่างใกล้ชิด เนื่องจากแรงขับของเศรษฐกิจในประเทศของไทยที่ฟื้นตัวจากน้ำท่วมค่อนข้างดี นั้น ยังไม่มากพอที่จะชนะแรงกระเพื่อมจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจและความผันผวนจากต่างประเทศ จนถึงกับต้องใช้นโยบายการเงินตึงตัว ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้จึงมีทั้งโอกาสที่จะทรงตัวต่อเนื่องหรือปรับขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น.


         วิเคราะห์ข่าว
                ด้วยสถานการณ์ในปีนี้ TMB Analytics ประเมินว่า “น้ำหนักของปัจจัยจากต่างประเทศมีอิทธิพลต่อการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยของไทยมากกว่าปัจจัยจากภายในประเทศ” เราจึงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์เศรษฐกิจการเงินของกลุ่มประเทศหลักๆ อย่างใกล้ชิด เนื่องจากแรงขับของเศรษฐกิจในประเทศของไทยที่ฟื้นตัวจากน้ำท่วมค่อนข้างดี นั้น ยังไม่มากพอที่จะชนะแรงกระเพื่อมจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจและความผันผวนจากต่างประเทศ จนถึงกับต้องใช้นโยบายการเงินตึงตัว ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้จึงมีทั้งโอกาสที่จะทรงตัวต่อเนื่องหรือปรับขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

         ผู้เสนอข่าว : นายธงไชย เขมาธร ID : 53112804112

โปรโมชั่นใหม่ New Promotion





บัญชีเงินฝากไม่ประจำ ทีเอ็มบี ดอกเบี้ยสูง
ฉลองความสำเร็จ กับบัญชีที่คนกว่าครึ่งล้านเปิดใช้
เปิดบัญชีเงินฝากไม่ประจำ ทีเอ็มบี ดอกเบี้ยสูง วันนี้
 
• รับดอกเบี้ยพิเศษ 3% ถึง 31 ก.ค. 55
• ถอนเมื่อไรก็ได้ ไม่มีขั้นต่ำ
โอกาสเดียว อย่าพลาด!
วันนี้ ถึง 31 ก.ค. 55 เท่านั้น ที่ ทีเอ็มบี ทุกสาขา
มีบัญชีเงินฝากไม่ประจำแล้ว (เปิดบัญชีก่อน 1 มิ.ย. 55)
ไม่ต้องเปิดใหม่ เมื่อฝากเพิ่ม* รับดอกเบี้ยพิเศษ 3%
ตั้งแต่ 1 มิ.ย. – 31 ก.ค. 55
* ยอดเงินฝากเพิ่ม คือ ยอดเงินส่วนที่เกินจากยอดเงินคงเหลือในบัญชี ณ สิ้นวันที่ 31 พ.ค. 55
ตัวอย่างวิธีการคำนวณ
  • สิ้นวันของวันที่ 31 พ.ค. 55 ลูกค้ามียอดเงินคงเหลือ 100,000 บาท
  • ลูกค้านำเงินมาฝากเพิ่ม ในวันที่ 1 มิ.ย. 55 จำนวน 200,000 บาท ซึ่งจะได้รับดอกเบี้ยพิเศษ 3% (ดอกเบี้ยปกติ + ดอกเบี้ยโบนัส)
  • ดอกเบี้ยโบนัสจะคำนวณให้เฉพาะยอดเงินฝากเพิ่มและจำคำนวณให้จนถึงวันที่ 31 ก.ค. 55 เท่านั้น เมื่อสิ้นสุดโครงการแล้ว ลูกค้าจะได้รับดอกเบี้ยปกติตามประกาศธนาคารฯ
     
เงื่อนไขของการรับดอกเบี้ยโบนัส
  • โครงการฉลองกับบัญชีฝากไม่ประจำ ทีเอ็มบี ดอกเบี้ยสูง มีระยะเวลาตั้งแต่ 1 มิ.ย. – 31 ก.ค. 55 เมื่อสิ้นสุดโครงการแล้ว ดอกเบี้ยจะเปลี่ยนเป็นอัตราดอกเบี้ยปกติตามประกาศธนาคารฯ
  • บัญชีใหม่ที่เปิดระหว่างโครงการและบัญชีที่เปิดก่อนโครงการ มีสิทธิ์ได้รับดอกเบี้ยโบนัสตามประกาศธนาคารฯ
  • สำหรับยอดเงินส่วนที่เกิน 10 ล้านบาทขึ้นไป จะไม่ได้รับดอกเบี้ยโบนัส
  • ดอกเบี้ยโบนัสจะคำนวณจากยอดเงินคงเหลือ ณ สิ้นวัน และจะจ่ายเข้าบัญชีตามรอบปกติในเดือน ธ.ค. 55
  • บัญชีที่ปิดก่อนวันที่ 4 ส.ค. 55 จะไม่ได้รับดอกเบี้ยโบนัส แต่ยังคงได้รับดอกเบี้ยปกติ
  • ลูกค้า 1 ท่าน เปิดบัญชี (ทุกสาขารวมกัน) ได้เพียง 1 บัญชีเท่านั้น กรณีที่มีมากกว่า 1 บัญชีหรือปิดบัญชีเดิมแล้วเปิดบัญชีใหม่ ในช่วงระยะเวลาของโครงการ ธนาคารฯ ถือเป็นการผิดเงื่อนไข และทุกบัญชีภายใต้ชื่อบัญชีของลูกค้าท่านนั้น จะไม่ได้รับดอกเบี้ยโบนัส
  • รายละเอียดเป็นไปตามประกาศธนาคารฯ
ธนาคารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต่างๆ ของโครงการได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ ดุลยพินิจของธนาคารฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด


     วิเคราะห์ข่าว
ธนาคารทหารไทยได้มีโปรโมชั่น คือ
• รับดอกเบี้ยพิเศษ 3% ถึง 31 ก.ค. 55
• ถอนเมื่อไรก็ได้ ไม่มีขั้นต่ำ
โอกาสเดียว อย่าพลาด!
วันนี้ ถึง 31 ก.ค. 55 เท่านั้น ที่ ทีเอ็มบี ทุกสาขา
มีบัญชีเงินฝากไม่ประจำแล้ว (เปิดบัญชีก่อน 1 มิ.ย. 55)
ไม่ต้องเปิดใหม่ เมื่อฝากเพิ่ม* รับดอกเบี้ยพิเศษ 3%
ตั้งแต่ 1 มิ.ย. – 31 ก.ค. 55
* ยอดเงินฝากเพิ่ม คือ ยอดเงินส่วนที่เกินจากยอดเงินคงเหลือในบัญชี ณ สิ้นวันที่ 31 พ.ค. 55
     ผู้เสนอข่าว : นายธงไชย เขมาธร ID : 53112804116

ทีเอ็มบีเปิดประตูอาเซียน แต่งตั้ง BCEL เป็น Banking Agent ช่วยนักธุรกิจไทย-ลาว



22 มิถุนายน 2555
กรุงเทพฯ,20 มิถุนายน 2555: ทีเอ็มบีเดินหน้าเพิ่มคุณค่าทางธุรกิจให้ผู้ประกอบการที่กำลังเตรียมตัวเข้าสู่ระบบการค้าในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ด้วยการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งกับธนาคารในกลุ่มอาเซียน ล่าสุดจับมือกับธนาคารการค้าต่างประเทศลาว (Banque Pour Le Commerce Exterieur Lao หรือ BCEL) เป็นตัวแทนในการทำธุรกรรม Cash Management Service และ Trade Finance โดยเน้นความสัมพันธ์ทางการเงินที่ชัดเจนตั้งแต่การลงนามให้ความร่วมมือกัน มีกลุ่มลูกค้าจริงและลูกค้าสามารถใช้บริการได้จริง ก่อนก้าวข้ามไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนอื่นๆ

นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี กล่าวว่า ในขณะที่ประเทศไทยกำลังเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 ในส่วนของภาคการเงินซึ่งประกอบ ด้วยธนาคารของรัฐและธนาคารพาณิชย์ก็ได้มีการเตรียมความพร้อมให้กับลูกค้าธุรกิจอย่างต่อเนื่องสำหรับทีเอ็มบีได้จัดการสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการทั้งเอสเอ็มอี และลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ทั่วประเทศตลอด 2 ปีที่ผ่านมา รวมถึงได้มีการพัฒนาระบบงานและสารสนเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ความสำคัญกับระบบธุรกรรมทางการเงิน (Transactional Banking) ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพราะมองว่าเป็นเฟืองจักรสำคัญในการทำธุรกรรมทางการเงิน และเป็นการเพิ่มคุณค่าให้การบริการที่ทีเอ็มบีส่งมอบให้กับลูกค้าธุรกิจ

กลยุทธ์สำคัญที่ทีเอ็มบีกำลังก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ การสร้างเครือข่ายที่เข็มแข็งกับสถาบันการเงินชั้นนำในอาเซียนให้เป็นตัวแทนส่งมอบธุรกรรมทางการเงินให้ลูกค้าธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญต้องเป็นความร่วมมือที่ชัดเจนระหว่างพันธมิตรทางการเงิน เพื่อให้ลูกค้าธุรกิจใช้บริการได้จริงในวันนี้ทีเอ็มบีได้ลงนามแต่งตั้งสถาบันการเงินตัวแทน(Banking Agent) กับธนาคารการค้าต่างประเทศลาว (Banque Pour Le Commerce Exterieur Lao หรือ BCEL) กับนายวันคำ วอระวง ผู้อำนวยการใหญ่ BCEL เพื่อเพิ่มและขยายช่องทางทางการเงินให้แก่ลูกค้าที่เข้าไปทำธุรกิจในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว ได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมทุกพื้นที่ เพราะ BCEL เป็นธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดใน สปป.ลาว มีสาขาทั่วประเทศ โดยการลงนามครั้งนี้จะทำให้ BCEL สามารถให้บริการที่ครอบคลุมถึงระบบ Cash Management Service และ Trade Finance คือ เป็นตัวแทนในการรับฝากเงิน จ่ายเงิน ( Paying Agent) และรับชำระเงิน (Collection และ EDC) ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจให้กับลูกค้าธุรกิจได้อย่างมาก อย่างไรก็ตาม การให้บริการดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนของการรออนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารแห่งชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ปัจจุบันมีลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ของทีเอ็มบีที่เข้าไปทำธุรกิจใน สปป.ลาว เช่น กลุ่มบริษัท ซีพี โดยใช้สินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ สำหรับธุรกิจด้านอาหารสัตว์ เลี้ยงสัตว์ และการเพาะปลูก ซึ่งทำให้มีความสะดวกต่อการนำวัตถุดิบเข้าไปยังสปป.ลาว และส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมายังประเทศไทย ด้านกลุ่มบริษัท บจก.นันยางเท็กซ์ไทล์ ใช้บริการด้านปริวรรตเงินตราต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการส่งออกผลิตภัณฑ์เสื้อผ้ากีฬาและเสื้อผ้าเด็ก ซึ่งผลิตโดยบริษัทในเครือ ในนามบริษัท Trimax นอกจากนี้ ทีเอ็มบี ยังให้การสนับสนุนวงเงินสินเชื่อเพื่อการค้าต่างประเทศ วงเงิน 15 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงิน 450 ล้านบาทกับกลุ่มบริษัทดาวเรือง ซึ่งเป็นธุรกิจในสปป.ลาว ที่ดำเนินธุรกิจสินค้าปลอดภาษี (Duty Free) และมีขนาดใหญ่ที่สุดใน สปป.ลาว อีกทั้งยังเป็นผู้ผลิตและส่งออกกาแฟรายใหญ่ของประเทศอีกด้วย ซึ่งทีเอ็มบี มั่นใจว่าการให้บริการร่วมกับ BCEL จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกถอนเงินกู้ และเพิ่มความคล่องตัวในการรับ-จ่าย และโอนเงิน (Transactional Banking) ผ่าน BCEL ซึ่งเป็นธนาคารตัวแทนของทีเอ็มบี

นายวันคำ วอระวง ผู้อำนวยการใหญ่ ธนาคารการค้าต่างประเทศลาว มหาชน กล่าวว่า BCEL มีความยินดีและมีความพร้อมในการเป็นธนาคารตัวแทนให้กับทีเอ็มบี ด้วยสาขาที่มีถึง 18 แห่ง ครอบคลุมทุกพื้นที่เศรษฐกิจทั่วประเทศ ประกอบกับเป็นธนาคารของรัฐที่มียุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น ความร่วมมือครั้งนี้ จึงสอดคล้องกับนโยบายของ BCEL และคาดว่าจะสามารถให้บริการทางการเงินทั้งกับลูกค้าชาวไทย ชาวลาว รวมถึงนักธุรกิจประเทศอื่นๆ ที่เข้าไปทำธุรกิจใน สปป.ลาวได้อีกด้วย

นอกจากนี้ ทีเอ็มบียังมีแผนงานที่จะขยายขอบเขตการให้บริการไปในประเทศอาเซียนอื่นๆ โดยใช้กลยุทธ์ขยายเครือข่ายไปยังธนาคารท้องถิ่น โดยเน้นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง ทั้งในด้านการค้าและการลงทุน โดยทีเอ็มบีมองว่ากลยุทธ์เครือข่ายจะสามารถสนับสนุนธุรกิจระหว่างประเทศได้ดีกว่าการที่ธนาคารจะลงไปดำเนินการในประเทศอาเซียนเอง เพราะธนาคารท้องถิ่นย่อมมีความเชี่ยวชาญและเข้าใจลูกค้าธุรกิจในพื้นที่ของตนมากกว่า ซึ่งจะทำให้ลูกค้าธุรกิจได้รับประโยชน์และคำแนะนำที่เหมาะสม เป็นการเพิ่มคุณค่าการบริการและตอบโจทย์ให้กับลูกค้าที่เข้าไปทำธุรกิจในประเทศอาเซียนได้อย่างตรงจุด (Customer Centricity) นอกจากนี้ ทีเอ็มบียังมีแผนงานจะสร้างเครือข่ายพันธมิตรเพิ่มขึ้นในกลุ่มประเทศอาเซียนอย่าง อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนามและสิงคโปร์ต่อไป



Credit :http://www.tmbbank.com/newsroom/news-details.php?id=365


วิเคราะห์ข่าว : ทางธนาคารทหารไทย ได้จับมือกับ ธนาคารค้าต่างประเทศลาว โดยเป็นตัวกลางในการทำธุรกรรมกับลาว โดยเน้นความสัมพันธ์ที่เข้มแข็ง และนอกจากนี้ ธนาคารทหารไทยยังมีแผนจะขยายขอบเขตการให้บริการดังกล่าวไปในประเทศอาเซียนอื่นๆ อีกด้วย


ผู้เสนอข่าว : นายวรพงษ์ เจริญสรรพพืช ID : 53112804116

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบงก์ทหารไทยจับมือธนาคารลาวช่วยนักธุรกิจไทย-ลาวรับเออีซี

Wednesday, 20 June 2012 17:32  

WEDNESDAY, 20 JUNE 2012
      ทีเอ็มบีเดินหน้าเพิ่มคุณค่าทางธุรกิจให้ผู้ประกอบการที่กำลังเตรียมตัวเข้าสู่ระบบการค้าในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ด้วยการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งกับธนาคารในกลุ่มอาเซียน
                ล่าสุดจับมือกับธนาคารการค้าต่างประเทศลาว(Banque Pour Le Commerce Exterieur Lao หรือ BCEL) เป็นตัวแทนในการทำธุรกรรมCash Management Service และ Trade Finance โดยเน้นความสัมพันธ์ทางการเงินที่ชัดเจนตั้งแต่การลงนามให้ความร่วมมือกัน มีกลุ่มลูกค้าจริงและลูกค้าสามารถใช้บริการได้จริง ก่อนก้าวข้ามไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนอื่นๆ
                นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารทหารไทย หรือ ทีเอ็มบี กล่าวว่า ในขณะที่ประเทศไทยกำลังเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558ในส่วนของภาคการเงินซึ่งประกอบด้วยธนาคารของรัฐและธนาคารพาณิชย์ก็ได้มีการเตรียมความพร้อมให้กับลูกค้าธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
                สำหรับทีเอ็มบีได้จัดการสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการทั้งเอสเอ็มอี และลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ทั่วประเทศตลอด 2 ปีที่ผ่านมา รวมถึงได้มีการพัฒนาระบบงานและสารสนเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ความสำคัญกับระบบธุรกรรมทางการเงิน(Transactional Banking) ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพราะมองว่าเป็นเฟืองจักรสำคัญในการทำธุรกรรมทางการเงิน และเป็นการเพิ่มคุณค่าให้การบริการที่ทีเอ็มบีส่งมอบให้กับลูกค้าธุรกิจ
                กลยุทธ์สำคัญที่ทีเอ็มบีกำลังก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ การสร้างเครือข่ายที่เข็มแข็งกับสถาบันการเงินชั้นนำในอาเซียนให้เป็นตัวแทนส่งมอบธุรกรรมทางการเงินให้ลูกค้าธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญต้องเป็นความร่วมมือที่ชัดเจนระหว่างพันธมิตรทางการเงิน เพื่อให้ลูกค้าธุรกิจใช้บริการได้จริงในวันนี้ทีเอ็มบีได้ลงนามแต่งตั้งสถาบันการเงินตัวแทน(Banking Agent) กับธนาคารการค้าต่างประเทศลาว(Banque Pour Le Commerce Exterieur Lao หรือ BCEL) กับนายวันคำ วอระวง ผู้อำนวยการใหญ่ BCEL เพื่อเพิ่มและขยายช่องทางทางการเงินให้แก่ลูกค้าที่เข้าไปทำธุรกิจในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว ได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมทุกพื้นที่ เพราะ BCEL เป็นธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดใน สปป.ลาว มีสาขาทั่วประเทศ โดยการลงนามครั้งนี้จะทำให้ BCEL สามารถให้บริการที่ครอบคลุมถึงระบบCash Management Service และ Trade Finance คือ เป็นตัวแทนในการรับฝากเงิน จ่ายเงิน ( Paying Agent) และรับชำระเงิน (Collection และ EDC) ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจให้กับลูกค้าธุรกิจได้อย่างมาก อย่างไรก็ตาม การให้บริการดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนของการรออนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารแห่งชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
                ปัจจุบันมีลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ของทีเอ็มบีที่เข้าไปทำธุรกิจใน สปป.ลาว เช่น กลุ่มบริษัท ซีพี โดยใช้สินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ สำหรับธุรกิจด้านอาหารสัตว์ เลี้ยงสัตว์ และการเพาะปลูก ซึ่งทำให้มีความสะดวกต่อการนำวัตถุดิบเข้าไปยังสปป.ลาว และส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมายังประเทศไทย ด้านกลุ่มบริษัท บจก.นันยางเท็กซ์ไทล์ ใช้บริการด้านปริวรรตเงินตราต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการส่งออกผลิตภัณฑ์เสื้อผ้ากีฬาและเสื้อผ้าเด็ก ซึ่งผลิตโดยบริษัทในเครือ ในนามบริษัท Trimax นอกจากนี้ ทีเอ็มบี ยังให้การสนับสนุนวงเงินสินเชื่อเพื่อการค้าต่างประเทศ วงเงิน 15 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงิน 450 ล้านบาทกับกลุ่มบริษัทดาวเรือง ซึ่งเป็นธุรกิจในสปป.ลาว ที่ดำเนินธุรกิจสินค้าปลอดภาษี (Duty Free) และมีขนาดใหญ่ที่สุดใน สปป.ลาว อีกทั้งยังเป็นผู้ผลิตและส่งออกกาแฟรายใหญ่ของประเทศอีกด้วย ซึ่งทีเอ็มบี มั่นใจว่าการให้บริการร่วมกับ BCEL จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกถอนเงินกู้ และเพิ่มความคล่องตัวในการรับ-จ่าย และโอนเงิน (Transactional Banking) ผ่าน BCEL ซึ่งเป็นธนาคารตัวแทนของทีเอ็มบี
                นายวันคำ วอระวง ผู้อำนวยการใหญ่ ธนาคารการค้าต่างประเทศลาว มหาชน กล่าวว่า BCEL มีความยินดีและมีความพร้อมในการเป็นธนาคารตัวแทนให้กับทีเอ็มบี ด้วยสาขาที่มีถึง 18 แห่ง ครอบคลุมทุกพื้นที่เศรษฐกิจทั่วประเทศ ประกอบกับเป็นธนาคารของรัฐที่มียุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น ความร่วมมือครั้งนี้ จึงสอดคล้องกับนโยบายของ BCEL และคาดว่าจะสามารถให้บริการทางการเงินทั้งกับลูกค้าชาวไทย ชาวลาว รวมถึงนักธุรกิจประเทศอื่นๆ ที่เข้าไปทำธุรกิจใน สปป.ลาวได้อีกด้วย
                นอกจากนี้ ทีเอ็มบียังมีแผนงานที่จะขยายขอบเขตการให้บริการไปในประเทศอาเซียนอื่นๆ โดยใช้กลยุทธ์ขยายเครือข่ายไปยังธนาคารท้องถิ่น โดยเน้นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง ทั้งในด้านการค้าและการลงทุน โดยทีเอ็มบีมองว่ากลยุทธ์เครือข่ายจะสามารถสนับสนุนธุรกิจระหว่างประเทศได้ดีกว่าการที่ธนาคารจะลงไปดำเนินการในประเทศอาเซียนเอง เพราะธนาคารท้องถิ่นย่อมมีความเชี่ยวชาญและเข้าใจลูกค้าธุรกิจในพื้นที่ของตนมากกว่า ซึ่งจะทำให้ลูกค้าธุรกิจได้รับประโยชน์และคำแนะนำที่เหมาะสม เป็นการเพิ่มคุณค่าการบริการและตอบโจทย์ให้กับลูกค้าที่เข้าไปทำธุรกิจในประเทศอาเซียนได้อย่างตรงจุด(Customer Centricity) นอกจากนี้ ทีเอ็มบียังมีแผนงานจะสร้างเครือข่ายพันธมิตรเพิ่มขึ้นในกลุ่มประเทศอาเซียนอย่าง อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนามและสิงคโปร์ต่อไป
               

วิเคราะห์ข่าว
                ทีเอ็มบีเดินหน้าเตรียมตัวเข้าสู่ระบบการค้าในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ด้วยการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งกับธนาคารในกลุ่มอาเซียน ล่าสุดจับมือกับธนาคารการค้าต่างประเทศลาว เป็นตัวแทนในการทำธุรกรรมCash Management Service และ Trade Finance โดยเน้นความสัมพันธ์ทางการเงินที่ชัดเจนตั้งแต่การลงนามให้ความร่วมมือกัน มีกลุ่มลูกค้าจริงและลูกค้าสามารถใช้บริการได้จริง ก่อนก้าวข้ามไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนอื่นๆ  กลยุทธ์สำคัญที่ทีเอ็มบีกำลังก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ การสร้างเครือข่ายที่เข็มแข็งกับสถาบันการเงินชั้นนำในอาเซียนให้เป็นตัวแทนส่งมอบธุรกรรมทางการเงินให้ลูกค้าธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญต้องเป็นความร่วมมือที่ชัดเจนระหว่างพันธมิตรทางการเงิน เพื่อให้ลูกค้าธุรกิจใช้บริการได้จริงในวันนี้ทีเอ็มบีได้ลงนามแต่งตั้งสถาบันการเงินตัวแทนกับธนาคารการค้าต่างประเทศลาว

                ผู้เสนอข่าว: นางสาวสุติมา  บุญฉิม  ID : 53112804119