ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ TMB Group 3 Blog

วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

TMB เผยหนี้เสียในระบบแบงก์แนวโน้มเพิ่มหลังแข่งปล่อยสินเชื่อดุส่งสัญญาณเสี่ยง


          ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ระบุว่า จากตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL)ในระบบสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เปิดเผยออกมาเห็นได้ชัดว่าหนี้เสียที่มาจากหนี้เสียรายใหม่ในช่วงไตรมาสสองและสามปีนี้ เพิ่มขึ้น 1.0 และ  1.2  หมื่นล้าน ตามลำดับ จากปริมาณเพิ่มเฉลี่ยที่ 7,500 ล้านบาทต่อไตรมาสในช่วงปี 2553-54 เป็นการกลับไปแตะที่หลักหมื่นล้านอีกครั้งหลังช่วงวิกฤตซับไพร์มเป็นต้นมา


          ขณะที่หนี้เสียที่เพิ่มขึ้นจากหนี้ที่เคยเจรจาปรับโครงสร้างหนี้มาแล้วเพิ่มขึ้น 3.0 และ 3.2 พันล้านบาท ตามลำดับ  สูงกว่าค่าเฉลี่ย 2.3 พันล้านบาทต่อไตรมาส เช่นกัน จึงสรุปได้ว่าหนี้เสียทั้งรายใหม่และเก่า กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

          การเพิ่มของหนี้เสียในจำนวนสูงเช่นนี้ เคยเกิดขึ้นแล้วในช่วงวิกฤติซับไพร์ม ซึ่งในครั้งนั้นเศรษฐกิจไทยถึงกับหดตัวถึงร้อยละ 2.3 ดังนั้น  การมีหนี้เสียเพิ่มขึ้นจึงเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ  แต่การเพิ่มขึ้นของหนี้เสียในปัจจุบัน เกิดขึ้นท่ามกลางเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 2.6 ในเก้าเดือนแรกของปี  จึงกล่าวได้ว่า การมีหนี้เสียมากขึ้นจากรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และหนี้เสียซ้ำซ้อนจากที่เคยปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้วที่เพิ่มขึ้นเช่นกันถึงร้อยละ 60 เป็นสิ่งที่ต้องพึงระวังอย่างยิ่งและควรติดตามดูอย่างใกล้ชิด

         ถึงแม้การเพิ่มขึ้นของหนี้เสียสินเชื่อส่วนบุคคลจะมาจากทุกๆรายการ ไม่ว่าจะเป็น สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อเพื่อการบริโภคอื่นๆ และสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ โดยพบสัญญาณอันตรายในแง่การลดลงของคุณภาพสินเชื่อ ในสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และจักรยานยนต์มากที่สุด โดย สัญญาณดังกล่าววัดจากอัตราส่วนของ “สัดส่วนยอดสินเชื่อที่ปล่อยของสินเชื่อแต่ละประเภทกับสินเชื่อรวม" กับ “สัดส่วนยอด NPL แต่ละประเภทกับ NPL รวม"  (หรือ share ของสินเชื่อหารด้วย share ของ NPL นั่นเอง)  ถ้าหากอัตราส่วนดังกล่าวของสินเชื่อประเภทใดลดลง ก็หมายความสินเชื่อประเภทนั้น มีการเพิ่มของ NPL ที่เร่งตัวมากกว่าการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อ  ซึ่งอัตราส่วนดังกล่าวของสินเชื่อเช่าซื้อรถปรับตัวลงอย่างมีนัยสำคัญสองครั้ง คือ ช่วงที่เกิดวิกฤติซับไพรม์ที่ลดจากระดับ 4 เท่า เหลือเพียง 2.5 เท่า  และ ในช่วงสามไตรมาสปีนี้ ที่ลดลงมาต่ำกว่าระดับ 2 เท่า ขณะที่สินเชื่อบ้าน กับ สินเชื่อส่วนบุคคลอื่นๆ  มีการลดลงของอัตราส่วนดังกล่าวไม่มากนัก คือจากระดับประมาณ 1.5 เท่า มาเป็น 1 เท่า

         ถึงแม้สัดส่วนหนี้เสียต่อปริมาณสินเชื่อของสินเชื่ออุปโภคบริโภคจะยังไม่สูงมาก แต่การลดลงของคุณภาพสินเชื่อดังกล่าวกลับเป็นสัญญาณเสี่ยง ให้หลายๆฝ่ายเฝ้าจับตามองระดับหนี้เสียที่เพิ่มอย่างมีนัยสำคัญภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตได้ดี  แล้วถ้าหากเกิดเศรษฐกิจไทยเกิดสะดุดขึ้นมาจริงๆอีกครั้งหนึ่ง จะเกิดความเสียหายมหาศาลเพียงใด

อ้างอิงhttp://www.ryt9.com/s/iq03/1541288

สรุปจากตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL)ในระบบสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เปิดเผยออกมาเห็นได้ชัดว่าหนี้เสียที่มาจากหนี้เสียรายใหม่ในช่วงไตรมาสสองและสามปีนี้ เพิ่มขึ้น 1.0 และ  1.2  หมื่นล้าน ตามลำดับ จากปริมาณเพิ่มเฉลี่ยที่ 7,500 ล้านบาทต่อไตรมาสในช่วงปี 2553-54 เป็นการกลับไปแตะที่หลักหมื่นล้านอีกครั้งหลังช่วงวิกฤตซับไพร์มเป็นต้นมา

การเพิ่มของหนี้เสียในจำนวนสูงเช่นนี้ เคยเกิดขึ้นแล้วในช่วงวิกฤติซับไพร์ม ซึ่งในครั้งนั้นเศรษฐกิจไทยถึงกับหดตัวถึงร้อยละ 2.3 ดังนั้น  การมีหนี้เสียเพิ่มขึ้นจึงเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ  แต่การเพิ่มขึ้นของหนี้เสียในปัจจุบัน เกิดขึ้นท่ามกลางเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 2.6 ในเก้าเดือนแรกของปี  จึงกล่าวได้ว่า การมีหนี้เสียมากขึ้นจากรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และหนี้เสียซ้ำซ้อนจากที่เคยปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้วที่เพิ่มขึ้นเช่นกันถึงร้อยละ 60 เป็นสิ่งที่ต้องพึงระวังอย่างยิ่งและควรติดตามดูอย่างใกล้ชิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น