ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ TMB Group 3 Blog

วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สรุปข่าวเด่นประจำสัปดาห์

10 ธันวาคม - 16 ธันวาคม 2555

ออกโรงเตือนนักช็อปมือเติบรูดปื้ดช่วงปีใหม่เสี่ยงหนี้ท่วมหัว



        ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ออกโรงเตือนผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิตในช่วงเทศกาลปลายปี เพราะตัวเลขยอดบัตรเครดิตอาจพุ่งกว่า 30% หรือ 3.5 หมื่นล้านบาท แนะผู้บริโภคควรรูดอย่างมีสติ ควบคุมการใช้จ่าย และเลี่ยง "5 พฤติกรรมเสี่ยง" สู่ความเป็นหนี้ คือ    
      1. ใช้บัตรเครดิตแทนเงินสดเพียงเพราะความสะดวก
      2. รูดบัตรเกินวงเงิน
      3. ถูกแรงดึงดูดจากบัตรเครดิตโน้มน้าวใจ เช่น มีของแถมมาล่อใจจนต้องใช้จ่าย

วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

TMB ปล่อยสินเชื่อ 2 พันลบ.ให้วอลโว่ กรุ๊ป ขยายโรงงานเพิ่มกำลังผลิต


        
           นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย (TMB) เปิดเผยว่า ธนาคารได้สนับสนุนสินเชื่อวงเงิน 2 พันล้านบาท สำหรับการลงทุนของ วอลโว่ กรุ๊ป ประเทศไทย ในแผนการขยายโรงงานเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต และศูนย์บริการ เพื่อเพิ่มการขายและเครือข่ายบริการ ให้กับลูกค้าของวอลโว่ทั่วประเทศ

          โดยธนาคารเล็งเห็นถึงศักยภาพในการเติบโตของธุรกิจในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้นในระบบเศรษฐกิจของไทย ซึ่งคิดเป็น 11% ของ GDP ของครึ่งปีแรก นอกจากนี้ ภายหลังจากวิกฤตน้ำท่วมเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ได้กลับมาดำเนินการผลิตได้อีกครั้ง และธนาคารได้สนับสนุนทางการเงินในด้านต่างๆ ให้กับผู้ประกอบการเหล่านี้ โดยในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ที่ผ่านมา ได้หนุนคู่ค้าผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์หลายราย และยังได้ขยายเครือข่ายธนาคารด้วยการทำบันทึกข้อตกลงกับธนาคารในประเทศญี่ปุ่นที่ส่งเสริมลูกค้าเอสเอ็มอีทั้งชาวไทยและญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมยานยนต์อีกด้วย ซึ่งนอกจากการสนับสนุนทางการเงินและสร้างเครือข่ายพันธมิตรที่แข็งแกร่งให้กับลูกค้าของธนาคารแล้ว ที ยังมีหน่วยงานสำหรับดูแลธุรกิจต่างประเทศแบบครบวงจร (International Desk) คอยให้คำปรึกษาในทุกความต้องการของธุรกิจต่างประเทศ " เชื่อว่าการสนับสนุนทางการเงินจำนวน 2 พันล้านบาท เพื่อการขยายโรงงานของ บริษัท ไทย-สวีดิช แอสเซมบลีย์ จำกัด  และ TMBP (Thai Manufacturing Body and Paint) ในครั้งนี้จะเป็นส่วนช่วยเสริมกำลังการผลิตของบริษัท นอกจากนั้นแล้ว วอลโว่ กรุ๊ป ประเทศไทย ยังมีแผนขยายศูนย์บริการทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มการขายและเครือข่ายบริการ ให้สามารถดูแลลูกค้าของวอลโว่ได้อย่างทั่วถึง" นายบุญทักษ์ กล่าว

         ด้านนาย ฌาคส์ มิเชล ประธานกรรมการ บริษัท วอลโว่ กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าวว่า วอลโว่ กรุ๊ป ยังคงมีความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยแผนการลงทุนของ วอลโว่ กรุ๊ป ก็พร้อมที่จะให้ประเทศไทยเป็นฮับการผลิตรถบรรทุกและรถบัสในภูมิภาคอาเซียน

อ้างอิง : http://www.ryt9.com/s/iq05/1548442

สรุป : นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย (TMB) เปิดเผยว่า ธนาคารได้สนับสนุนสินเชื่อวงเงิน 2 พันล้านบาท สำหรับการลงทุนของ วอลโว่ กรุ๊ป ประเทศไทย ในแผนการขยายโรงงานเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต และศูนย์บริการ เพื่อเพิ่มการขายและเครือข่ายบริการ ให้กับลูกค้าของวอลโว่ทั่วประเทศ

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ออกโรงเตือนนักช็อปมือเติบรูดปื้ดช่วงปีใหม่เสี่ยงหนี้ท่วมหัว


          ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ออกโรงเตือนผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิตในช่วงเทศกาลปลายปี เพราะตัวเลขยอดบัตรเครดิตอาจพุ่งกว่า 30% หรือ 3.5 หมื่นล้านบาท แนะผู้บริโภคควรรูดอย่างมีสติ ควบคุมการใช้จ่าย และเลี่ยง "5 พฤติกรรมเสี่ยง" สู่ความเป็นหนี้
ในช่วงเทศกาลใหญ่ปลายปีซึ่งได้แก่คริสต์มาสและปีใหม่ เป็นช่วงที่ประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอยสูงมากกว่าปกติ รวมทั้งบรรดาห้างสรรพสินค้าต่างๆ ก็มีการจัดโปรโมชั่นมากมายเพื่อดึงดูดลูกค้าเข้าไปช็อปปิ้งกันอย่างคึกคัก และแน่นอนว่าบัตรเครดิตจะถูกนำออกมาใช้มากที่สุดในช่วงนี้เช่นกัน เพราะนอกจากจะได้รับความสะดวกแล้ว ยังเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการได้ง่ายขึ้น

          จากการวิเคราะห์ พบว่าประชาชนอาจใช้จ่ายต่อบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นกว่า 30% หรือจากประมาณ 6,100 บาทต่อบัตรต่อเดือน ในช่วงเวลาทั่วไปเป็น 8,100 บาท ในเดือนธันวาคมปีนี้ และคาดว่าจะทำให้มีเงินสะพัดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนนี้ถึง 3.5 หมื่นล้านบาท
แม้ว่าเงินพลาสติก หรือ บัตรเครคิต อาจดีกว่าหากเทียบกับเงินสด เพราะทำให้ได้สินค้าและบริการมาก่อน แต่จ่ายเงินทีหลัง แถมมีสิทธิประโยชน์ต่างๆ พ่วงมากมาย เช่น เปอร์เซ็นต์ส่วนลด หรือสะสมแต้มแลกของรางวัล แต่ผู้ถือบัตรพึงระวังต้นทุนที่ตามมาจากความสะดวกนี้ด้วย เพราะเป็นการใช้เงินล่วงหน้าที่หยิบยืมมาจากผู้ออกบัตร ซึ่งต้องจ่ายคืนด้วยเงินในอนาคตของตนเอง
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี แนะให้พิจารณาก่อนรูด เริ่มจากดูก่อนว่ามีบัตรเครดิตกี่ใบ งวดชำระวันไหน ดอกเบี้ยเท่าไหร่ และมีความสามารถในการชำระหนี้เท่าไร ถ้าใช้ไปแล้วเป็นการแบกหนี้อยู่หรือไม่ และหลีกเลี่ยง "5 พฤติกรรมเสี่ยง" คือ 
         1.ใช้บัตรเครดิตแทนเงินสดเพียงเพราะความสะดวก เพราะไม่เห็นเงินสดไหลออกจากกระเป๋า จึงควบคุมการใช้จ่ายได้ยาก ถ้าถือบัตร 3 ใบ นั่นหมายถึงว่าอาจจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 24,300 บาท เกิดขึ้นในเดือนธันวาคม 
         2.รูดบัตรเกินวงเงิน เพราะจะทำให้เสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าอัตราปกติ และเพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมทั้งสอง อาจต้องทำบันทึกค่าใช้จ่ายพร้อมกับตรวจเช็คการใช้จ่ายอยู่เสมอ
         3.ถูกแรงดึงดูดจากบัตรเครดิตโน้มน้าวใจ เช่น มีของแถมมาล่อใจจนต้องใช้จ่าย จนทำให้ต้องแบกภาระหนี้สินมากเกินไป 4.ชำระเงินไม่ตรงเวลา เพราะนอกจากต้องเสียดอกเบี้ยที่สูงกว่าปกติแล้ว ยังทำให้มีประวัติการชำระเงินที่ไม่ดีบันทึกอยู่ในเครดิตบูโร (บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด) ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการขอสินเชื่อต่างๆ ในอนาคต เห็นได้จากหนี้เสียของลูกหนี้บัตรเครดิต (NPL) ของธนาคารพาณิชย์ที่เพิ่มจาก 2% ตอนต้นปีเป็น 2.5% ในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ดี ถ้าวันที่ต้องชำระเงินไม่สอดคล้องกับรายรับที่จะเข้ามา ควรปรึกษาผู้ออกบัตรเพื่อกำหนดวันชำระเงินให้เหมาะสม และ 5.การจ่ายเพียงแค่ยอดขั้นต่ำ จะก่อให้เกิดดอกเบี้ยเป็นเงาตามตัว และนำไปสู่ภาระหนี้อย่างไม่น่าเชื่อ เช่น ถ้ารูดบัตร 10,000 บาท และชำระขั้นต่ำเพียง 1,000 บาทต่อเดือน จะทำให้ต้องแบกภาระหนี้ไปถึง 11 เดือน จากการวิเคราะห์เพิ่มเติมพบว่า ยอดหนี้บัตรเครดิตของคนไทยในปัจจุบันมากกว่าครึ่งเป็นหนี้ค้างชำระสะสมจากเดือนก่อนหน้า ทำให้ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยมากถึง 20% ต่อปี

        ช่วงเทศกาลปีนี้จึงควรรูดบัตรอย่างมีสติ คิดก่อนใช้ เพื่อรักษาเครดิตของตัวเองไว้ เผื่อว่าในอนาคตมีความจำเป็นที่ต้องใช้เงินสินเชื่ออื่นๆ นอกเหนือจากบัตรเครดิต ไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืมเงินเพื่อที่อยู่อาศัย ลงทุนธุรกิจ หรือซื้อรถยนต์ จะได้ไม่เป็นปัญหาทีหลัง

         ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รายงานการให้บริการธุรกิจบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล ล่าสุดเดือน ต.ค.ของปี 55 พบว่ายังมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงต่อเนื่อง โดยสิ้นเดือน ต.ค.ยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตมีทั้งสิ้น 231,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26,100 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 12.76% จากระยะเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ปริมาณบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยสิ้นเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา มีปริมาณบัตรทั้งสิ้น 16.72 ล้านบัตร เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 1.48 ล้านบัตร หรือเพิ่มขึ้น 9.71%

         ทั้งนี้ ในเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา มีปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตรวมทั้งสิ้น 117,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 17,100 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 17.09% และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 23,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นสูงถึง 24.31% โดยหากพิจารณาตามประเภทการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตต่างๆ พบว่าปริมาณการใช้จ่ายในประเทศมีทั้งสิ้น 96,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 14,100 ล้านบาท หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้น 17.20% และหากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น 23,400 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นถึง 32.22%

         ขณะที่ปริมาณการใช้จ่ายในต่างประเทศมีทั้งสิ้น 7,620 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 1,610 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 26.74% และหากเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น 2,540 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าถึง 50.07% สำหรับการเบิกเงินสดล่วงหน้าของผู้ถือบัตรเครดิต ในเดือน ต.ค.มีทั้งสิ้น 13,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1,450 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 11.71% แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนกลับลดลงเกือบ 3,000 ล้านบาท หรือลดลงสัดส่วน 17.72%

          สำหรับการปล่อยสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลของธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับของ ธปท. ล่าสุดในเดือน ต.ค.ของปีนี้ พบว่าจำนวนบัญชี และยอดสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินเชื่อของนอนแบงก์ โดยปัจจุบันยอดคงค้างสินเชื่อทั้งระบบมีทั้งสิ้น 244,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 32,600 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น 15.44%

         ขณะเดียวกัน หากพิจารณาจำนวนบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคลในระบบสิ้นเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา มีทั้งสิ้น 9.64 ล้านบัญชี ส่วนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 110,000 บัญชี และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 800,000 บัญชี หรือเพิ่มขึ้นสัดส่วน 9.05% แสดงให้เห็นถึงการเร่งเพิ่มยอดสินเชื่อบุคคลของทั้งธนาคารพาณิชย์ และนอนแบงก์ โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของนอนแบงก์มากที่สุด 495,000 บัญชี ขณะที่ธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 328,000 บัญชี แต่สาขาธนาคารต่างชาติสวนกระแส โดยจำนวนบัญชีลดลง 23,000 บัญชี

          อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ ธปท.กำลังติดตามการก่อหนี้ และการกลายเป็นหนี้เสียของลูกหนี้รายย่อยที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และเริ่มเห็นยอดการค้างชำระหนี้ของลูกหนี้รายย่อย 1-2 เดือน เพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม แนวโน้มของการขยายตัวของสินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่ออุปโภคบริโภคบุคคลในช่วงปีหน้าจะยังคงเพิ่มขึ้นได้ต่อเนื่อง แต่คาดว่าจะเป็นระดับการขยายตัวที่ชะลอลงจากปีนี้

อ้างอิง : http://www.ryt9.com/s/bmnd/1547175

สรุปข่าว :   ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ออกโรงเตือนผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิตในช่วงเทศกาลปลายปี เพราะตัวเลขยอดบัตรเครดิตอาจพุ่งกว่า 30% หรือ 3.5 หมื่นล้านบาท แนะผู้บริโภคควรรูดอย่างมีสติ ควบคุมการใช้จ่าย และเลี่ยง "5 พฤติกรรมเสี่ยง" สู่ความเป็นหนี้ คือ 1. ใช้บัตรเครดิตแทนเงินสดเพียงเพราะความสะดวก
      2. รูดบัตรเกินวงเงิน
      3. ถูกแรงดึงดูดจากบัตรเครดิตโน้มน้าวใจ เช่น มีของแถมมาล่อใจจนต้องใช้จ่าย

วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สรุปข่าวเด่นประจำสัปดาห์

3 ธันวาคม - 9 ธันวาคม 2555

TMB ปล่อยกู้ SAM วงเงิน 480 ลบ.เป็นทุนหมุนเวียนทางธุรกิจ





          นายภูมิชาย ชูสกุลธนะชัย หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าบรรษัทธุรกิจ ธนาคารทหารไทย (TMB) กล่าวว่า ธนาคารได้ให้การสนับสนุนทางการเงิน เป็นวงเงินสินเชื่อเพื่อหมุนเวียนในธุรกิจจำนวน 480 ล้านบาท ให้แก่ บมจ.สามชัย สตีล อินทรัสทรี (SAM) เนื่องจากเล็งเห็นถึงศักยภาพการเติบโตของบริษัท ซึ่งผู้ผลิตและจำหน่ายท่อเหล็กรายใหญ่ของประเทศ และยังมีศักยภาพในการส่งออกไปสู่ตลาดต่างประเทศ

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

TMB ปล่อยกู้ SAM วงเงิน 480 ลบ.เป็นทุนหมุนเวียนทางธุรกิจ




         นายภูมิชาย ชูสกุลธนะชัย หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าบรรษัทธุรกิจ ธนาคารทหารไทย (TMB) กล่าวว่า ธนาคารได้ให้การสนับสนุนทางการเงิน เป็นวงเงินสินเชื่อเพื่อหมุนเวียนในธุรกิจจำนวน 480 ล้านบาท ให้แก่ บมจ.สามชัย สตีล อินทรัสทรี (SAM) เนื่องจากเล็งเห็นถึงศักยภาพการเติบโตของบริษัท ซึ่งผู้ผลิตและจำหน่ายท่อเหล็กรายใหญ่ของประเทศ และยังมีศักยภาพในการส่งออกไปสู่ตลาดต่างประเทศ


         นอกจากนั้นแล้วการที่บริษัทฯ มีการควบรวมกับบริษัท อินเตอร์สตีล อินดัสทรี จำกัด ส่งผลให้บริษัทฯ เป็นผู้ผลิตที่มีกำลังการผลิตสูงที่สุดในประเทศ โดยมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิมอยู่ที่ประมาณ 246,000 ตันต่อปี เป็น 376,000 ตันต่อปี (เพิ่มขึ้นอีก 130,000 ตันต่อปี) และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกระจายสินค้าของบริษัทฯ จากการมีโรงงานผลิตตั้งอยู่ทั้ง 2 ฝั่งของกรุงเทพมหานคร คือ สมุทรสาคร และสมุทรปราการ
สำหรับวงเงินสินเชื่อ Trade On Demand เพื่อนำไปลงทุนเพิ่มเติมในส่วนของวัตถุดิบทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ และใช้สำหรับการปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เชื่อว่าการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนในครั้งนี้จะสามารถเสริมสร้างศักยภาพทางการผลิตของบริษัทฯ และตอบสนองความต้องการได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งช่วยให้ลูกค้าสามารถจัดการทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และพัฒนาคุณภาพสินค้าและระบบการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

อ้างอิง : http://www.ryt9.com/s/iq10/1544811

สรุป : นายภูมิชาย ชูสกุลธนะชัย หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าบรรษัทธุรกิจ ธนาคารทหารไทย (TMB) กล่าวว่า ธนาคารได้ให้การสนับสนุนทางการเงิน เป็นวงเงินสินเชื่อเพื่อหมุนเวียนในธุรกิจจำนวน 480 ล้านบาท ให้แก่ บมจ.สามชัย สตีล อินทรัสทรี (SAM) เนื่องจากเล็งเห็นถึงศักยภาพการเติบโตของบริษัท ซึ่งผู้ผลิตและจำหน่ายท่อเหล็กรายใหญ่ของประเทศ และยังมีศักยภาพในการส่งออกไปสู่ตลาดต่างประเทศ

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สรุปข่าวเด่นประจำสัปดาห์

26 พฤศจิกายน - 2 ธันวาคม 2555




          จากตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL)ในระบบสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เปิดเผยออกมาเห็นได้ชัดว่าหนี้เสียที่มาจากหนี้เสียรายใหม่ในช่วงไตรมาสสองและสามปีนี้ เพิ่มขึ้น 1.0 และ  1.2  หมื่นล้าน ตามลำดับ จากปริมาณเพิ่มเฉลี่ยที่ 7,500 ล้านบาทต่อไตรมาสในช่วงปี 2553-54 เป็นการกลับไปแตะที่หลักหมื่นล้านอีกครั้งหลังช่วงวิกฤตซับไพร์มเป็นต้นมา

          การเพิ่มของหนี้เสียในจำนวนสูงเช่นนี้ เคยเกิดขึ้นแล้วในช่วงวิกฤติซับไพร์ม ซึ่งในครั้งนั้นเศรษฐกิจไทยถึงกับหดตัวถึงร้อยละ 2.3 ดังนั้น  การมีหนี้เสียเพิ่มขึ้นจึงเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ  แต่การเพิ่มขึ้นของหนี้เสียในปัจจุบัน เกิดขึ้นท่ามกลางเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 2.6 ในเก้าเดือนแรกของปี  จึงกล่าวได้ว่า การมีหนี้เสียมากขึ้นจากรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และหนี้เสียซ้ำซ้อนจากที่เคยปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้วที่เพิ่มขึ้นเช่นกันถึงร้อยละ 60 เป็นสิ่งที่ต้องพึงระวังอย่างยิ่งและควรติดตามดูอย่างใกล้ชิด

อ้างอิง : http://www.ryt9.com/s/iq05/1531064